ปัจจัยทำนายการฟื้นฟูสภาพและประสบการณ์การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ผู้แต่ง

  • จิตรรดา พงศธราธิก อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • แก้วใจ ทัดจันทร์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, การฟื้นฟูสภาพ, ปัจจัยทำนาย, ประสบการณ์การฟื้นฟูสภาพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้วยวิธีอธิบายติดตามโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นวิธีการหลักในการศึกษาลักษณะการฟื้นฟูสภาพและปัจจัยทำนายการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 80 คน เก็บข้อมูลการฟื้นฟูสภาพด้วยเครื่องมือ Thai version of Western Ontario and McMaster University (WOMAC) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถดถอยพหุแบบขั้นตอน เมื่อได้ผลการวิจัยเชิงปริมาณแล้วจึงจำแนกกลุ่มตัวอย่างตามคะแนนการฟื้นหายเพื่อเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 30 คน เพื่ออธิบายความเพิ่มเติมความเข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า  ภาวะซึมเศร้าสามารถทำนายการฟื้นฟูสภาพด้านการใช้งานข้อได้ร้อยละ 14.9 (r2 = 0.149, β = 0.386, p value = 0.001) ดัชนีมวลกายสามารถทำนายการฟื้นฟูสภาพด้านอาการข้อฝืดได้ร้อยละ 8.2 (r2 = 0.082, β = -0.286 p value = 0.01) ภาวะโรคร่วมสามารถทำนายการฟื้นฟูสภาพด้านอาการปวดข้อได้ร้อยละ 6.2 (r2 = 0.62, β = 0.249 p value = 0.027) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายติดตามประสบการณ์การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม พบว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าหลังผ่าตัดอาการปวดเข่าลดลง เดินได้ดีขึ้น โดยปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสภาพภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมี 3 ปัจจัย คือ  1) ความกลัวการหกล้มและกลัวการปวด 2) การสนับสนุนด้านจิตใจ และ 3) การได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูล

References

กมนทรรศน์ ยันต์เจริญ, นารีรัตน์ จิตรมนตรี และเสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอํานาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. Journal of Nursing Science, 34, 167-178.

จิตรรดา พงศธราธิก, วีรยุทธ ศรีทุมสุข, ณฐกร นิลเนตร, บุญตา กลิ่นมาลี, บวรจิต เมธาฤทธิ์, อรุณรัตน์ หวังถนอม. (2562). ชุมชนต้นแบบของการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 150-159.

จันทร์จิรา เกิดวัน, จิราภรณ์ บุญอินทร์, ชุติมา ธีระสมบัติ และวิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. (2559). การสำรวจความชุกของโรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารกายภาพบำบัด, 38(2), 59-70.

ชยภรณ บุญเรืองศักดิ์ และสุภาภรณ์ สุดหนองบัว. (2562). การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุไทย. Dhammathas Academic Journal, 19(4), 199-208.

ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง. (2559). ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านสรีระของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม.Journal of Nursing Science, 34(4), 79-89.

นันทิกานต์ แสงทอน, สุภาพ อารีเอื้อ, พิชญ์ประอร ยังเจริญ และวิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. (2562). ความปวด ความสามารถในการทำกิจกรรมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าและข้อสะโพก: การศึกษาเปรียบเทียบก่อนและหลังผ่าตัด. Rama Nurs J, 25(1), 74-86.

ทาริกา บุญประกอบ และศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2562). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์นาวี, 46(2), 355–368.

มุขรินทร์ สิงห์ปัญญา, อรพรรณ โตสิงห์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล และก้องเขต เหรียญสุวรรณ. (2560). ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(1), 154 -167.

พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย และอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2549). คุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กันของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. Journal of Medical Association of Thailand, 89(3), 13-19.

พรทิพย์ มาลาธรรม, จิราพร คงเอี่ยม และประคอง อินทรสมบัติ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท. Rama Nurs J, 15(3), 431- 448.

ไพรัช ยิ้มเนียม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(2), 21-31.

วัชรี วรากุลนุเคราะห์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, วิลาวัณย์ อาชวกุลเทพ และลักษณา บุญประคอง. (2554). ประสบการณ์ความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. Journal of Nursing Science, 29(3), 74-82.

อินทิรา ไพนุพงศ์, วิภา แซ่เซี้ย และเนตรนภา คู่พันธวี. (2558). โปรแกรมการจัดการความปวดร่วมกับการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกําลังกายต่อผลลัพธ์การฟื้นสภาพผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการพยาบาล, 30(1), 99-111.

สุภางค์ จันทวานิช. (2563). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Amusat, N., Beaupre, L., Jhangri, G.S., Pohar, S.L., Simpson, S., Warren, S., et al. (2014). Diabetes that impacts on routine activities predict slower recovery after total knee arthroplasty: an observation study. Journal of physiotherapy, 60, 217-223.

Charlson, M.E., Charlson, R.E., Peterson, J.C., Marinopoulos, S., Briggs, W.M., Hollenberg, J.P. (2008). The Charlson Comorbidity Index is adapted to predict costs of chronic disease in primary care patients. Journal of Clinical Epidemiology, 61(12), 1234-1240.

Filardo, G., Roffi, A., Meril, G., Marcacci., Berti, Ceroni, F., Raboni, D., et al. (2016). Patient kinesiophobia affects both recovery time and final outcome after total knee arthroplasty. Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc, 24, 3322- 3328.

Goldsmith, L.J., Suryaprakash, N., Randal, E., Shum, J., Macdonal, V., Sawatzky R., et al. (2017). The importance of information, clinical and personal support in patient experience with total knee replacement: a qualitative investigation. BMC Musculoskeletal Disorders, 18(127), 1- 13.

Kuptniratsaikul, V., & Pekuman, P. (1997). The study of the center for Epidemiologic Studies Depression scale (CES-D) in Thai people. Siriraj Hosp Gaz, 49(5), 442-448

Kuptniratsaikul, V., & Rattanachaiyanont, M. (2007). Validation of a Modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) Osteoarthritis Index for Knee Osteoarthritis. Clinical Rheumatology, 26, 1641-1645.

Qi, A., Lin, C., Zhou, A., Du, J., Jia, X., Sun, L., et al. (2015). Negative emotions affect postoperative scores foe evaluating Knee recovery and quality of life after total knee replacement. Braz J Med Bio Res, 49(1), 3-6.

Shawn, M. R., Ravi, R., & Terry-Lyne M. (2014). Predicting Acute Recovery of Physical Function Following Total Knee Joint Arthroplasty Predicting Acute Recovery of Physical Function Following Total Knee Joint Arthroplasty. The journal of arthroplasty, 29(2), 299–303.

Sofia de, A., Michael, A. K., Benjamin, A., Glenn, l., Sherwin, S., David, E., Hong, Z., Maria, E. S.A. (2015). Patient, expectation about total knee arthroplasty outcomes. Health Expections, 19, 299–308. doi: 10.1111/hex.12350.

Whyte William P. (1984). Learning From the Field: A Guide From Experience. London: Sage Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-17