ผลของโปรแกรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมความตั้งใจและ การรับรู้ประสิทธิภาพของพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ ในวัยรุ่นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขต อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
เอชไอวี/เอดส์, ความรู้เรื่องเอชไอวี/เอดส์, พฤติกรรมความตั้งใจ, การป้องกันเอชไอวี/เอดส์บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์สำหรับวัยรุ่นตอนต้น ต่อความรู้เรื่องเอชไอวี/เอดส์ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันเชื้อเอชไอวี/เอดส์ พฤติกรรมความตั้งใจในการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ และการรับรู้ประสิทธิภาพของพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ ในวัยรุ่นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขต อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*power version 3.2 ได้จำนวน 80 คน โปรแกรมประกอบด้วย กิจกรรมสร้างสัมพันธภาพและความรู้เรื่องเอชไอวี/เอดส์ กิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ และ บรรทัดฐานทางสังคมและกิจกรรมเสริมทักษะการรับรู้ประสิทธิภาพในการควบคุมพฤติกรรม โดยใช้เวลา 3 วัน รวม 13 ชั่วโมง เครื่องมือและโปรแกรมผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือกับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 30 คน ซึ่งประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความรู้เรื่องเอชไอวี/เอดส์ ใช้การทดสอบ KR-20 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 2) แบบสอบถามทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แบบสอบถามพฤติกรรมความตั้งใจในการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ และแบบสอบถามการรับรู้ประสิทธิภาพของพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ ใช้การทดสอบสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80. 0.80 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนของความรู้เรื่องเอชไอวี/เอดส์ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันเชื้อเอชไอวี/เอดส์ พฤติกรรมความตั้งใจในการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ และ การรับรู้ประสิทธิภาพของพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ ระยะหลังการทดลองวันที่ 4 และระยะติดตามผลวันที่ 15 สูงกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นการเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ รวมไปถึงการรับรู้พฤติกรรมความเสี่ยงของตนเอง นำไปสู่ความตั้งใจและรับรู้ในการป้องกันตนเองในการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
References
เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี. (2561). เพศวิถีศึกษาสำหรับวัยรุ่นตอนต้น: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 67-81.
มูลนิธิแพธทูเฮลท์. (2020). สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสังคมแห่งสุขภาวะ. สืบค้นจาก https://www.Path2health.or.th
วราภรณ์ บุญเชียง, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์, วารุณี ฟองแก้ว และ พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2556). การศึกษาความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และเจตคติต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารสภาการพยาบาล, 28(1), 124-137.
วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์. (2561). เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นในโรงเรียน: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 82-98.
เวชสถิติโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง. (2561). สถิติผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่. นครศรีธรรมราช:โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฉวาง.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.(2560). สถิติผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/online/
อัมไพวรรณ บุญแก้ววรรณ (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนของพยาบาลสำหรับผู้นำวัยรุ่นในการป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวี/เอดส์ทางเพศสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการป้องกันเอชไอวี/เอดส์และการรับรู้ประสิทธิภาพของพฤติกรรมการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ในวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Process, 50, 179-211.
Bulduk, S., & Erdogan, S. (2012). The effects of peer education on reduction of the HIV/sexually transmitted infection risk behaviors among Turkish university students. Journal of the Association of Nurses in AIDS Care, 23(3), 233-243. doi:10.1016/j.jana.2011.02.003
Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control Ministry of Public Health. (2019). Policy of AIDS. Retrieved from www.boe.moph.go.th/
Bureau of AIDS TB and STI, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2020). Policy of HIV/AIDS. Retrieved from http://www.cqihiv.com/Index.aspx
Carey, M. P., & Schroder, K. E. E. (2002). Development and psychometric evaluation of the brief HIV knowledge questionnaire (HIV-KQ-18). AIDS Education and Prevention Journal, 14, 174-184.
Fisher, W. A., Fisher, J. D., Rye, B. J. (1995). Understanding and promoting AIDS-preventive behavior: Insights from the theory of reasoned action. Health Psychology, 14(3), 255-64.
Fongkaew, W., Settheekul, S., Fongkaew, W., & Surapagdee, N. (2011). Effectiveness of a youth-led educational program on sexual and reproductive health for Thai early adolescents. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 15(2), 81-96.
Gil, H., Gil, N., & Young, S. D. (2013). A review of the use of social media for health education and behavior change. Journal of Consumer Health on the Internet, 17(2), 139-150.
Karban, R. (2015). Plant Learning and Memory. Chicago and London: The University of Chicago.
Misovich, S. J., Fisher, W. A., & Fisher, J. D. (1998). A measure of AIDS prevention information, motivation, behavioral skills, and behavior. In C. M. Davis, L. Y. William, R., Banserman, G. Schreer, & S. L. Davis (Eds.), Handbook of sexuality-related measures (pp. 328-338). Thousand Oaks: SAGE.
Ounjit, W. (2015). Social and cultural dimensions of adolescent sexual relationships in Thailand. Social and Behavioral Sciences, 171, 606-612. doi:10.1016/j.sbspro.2015.01.167
Polit, F.D. & Hungler, P.B. (2014). Nursing Research: Principle and Method (6th ed.). Philadelphia: Lippincott Company.
Stephenson, R., Simon, C., & Finneran, C. (2014). Community factors shaping early age at first sex among adolescents in Burkina Faso, Ghana, Malawi, and Uganda. Journal of Health Population and Nutrition, 32(2), 161–175.
Thato, R., & Penrose, J. (2013). A brief, peer-led HIV prevention program for college students in Bangkok, Thailand. North American Society for Pediatric and Adolescent Gynecology, 26, 58-65.
World Health Organization. (2018). Child and adolescent health. Retrieved from https://www.who.int/maternal_child_adolescent/documents/adolescent/en/