การศึกษาต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนของการผลิตนักศึกษา ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
คำสำคัญ:
ต้นทุนต่อหน่วย, จุดคุ้มทุน, การผลิตนักศึกษา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ สถาบันพระบรมราชชนกบทคัดย่อ
ต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มทุนของการผลิตนักศึกษา เป็นข้อมูลที่สำคัญในการบริหารจัดการ การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วย จุดคุ้มทุน ต้นทุนต่อนักศึกษาเต็มเวลา (Full-time equivalent students : FTES) ของการผลิตนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล เก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ในปีงบประมาณ 2561 และ 2562 ในมุมมองของผู้ผลิต โดยกระจายต้นทุนแบบลำดับขั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกต้นทุนค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน ต้นทุนโครงการรวม และรายได้แต่ละหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ จำนวน และ ร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนต่อการผลิตนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตต่อภาระงานจากจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาในปี 2561 น้อยกว่าปี 2562 เท่ากับ 122,075.36 บาท และ 134,020.51 บาทต่อ FTES ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตต่อหน่วยในปี 2561 เท่ากับ 112,064.49 บาท และจุดคุ้มทุนในการผลิต 219 คนต่อปี ส่วนในปี 2562 มีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 124,299.89 บาท และจุดคุ้มทุนในการผลิต 242 คนต่อปี ต้นทุนต่อการผลิตนักศึกษาหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลต่อภาระงานจากจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาในปี 2561 น้อยกว่าปี 2562 เท่ากับ 80,209.49 บาท และ 120,680.01 บาทต่อ FTES ตามลำดับ ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตต่อหน่วยในปี 2561 เท่ากับ 97,095.70 บาท และจุดคุ้มทุนในการผลิต 156 คนต่อปี ส่วนในปี 2562 มีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 114,328.43 บาท และจุดคุ้มทุนในการผลิต 150 คนต่อปี
ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยเป็นประโยชน์ต่อการผู้บริหารในการจัดการด้านการเงินและการคำนวณจุดคุ้มทุนช่วยในการกำหนดจำนวนรับนักศึกษา
References
กัญญาณัฏฐ์ สาธกธรณ์ธันย์.(2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและความคุ้มค่าคุ้มทุนของการจัดการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 39-54.
กรมบัญชีกลาง. (2557). หลักเกณฑ์การคำนวนค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรสำหรับหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง.
กรมบัญชีกลาง. (2562). คู่มือการบัญชีภาครัฐ เรื่องที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 2562. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง.
กองนโยบายและแผน สำนักอธิบการบดี. (2560). รายงานต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2559. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. (2553). รายงานต้นทุนผลผลิตต่อหน่วยมหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.
คณะรัฐมนตรี. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/library/content_law/30.pdf
จรินทร์ เวศวานิช. (2553). การวิเคราะห์ต้นทุน, เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการหน่วยที่ 1-7. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นภชา สิงห์วีรธรรม และคณะ. (2561). ศึกษาต้นทุนต่อหน่วยของการผลิตและจุดคุ้มทุนนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 27(5), 932-947.
ปัทมา ผ่อนศิริ กุลธิดา กุลปะฑีปัญญา วรางคณา บุตรศรี ลักขณา ชอบเสียง และ นวพล แก่นบุปผา (2560). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 1(1), 75-91.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย สุธรรม อำพะมะ และวราภรณ์ นุ่นแก้ว. (2544). ต้นทุนการผลิตพยาบาลของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารสภาการพยาบาล, 16(1), 22-38.
ยุวดี วัฒนานนท์ ทัศนา บุญทอง และสุปราณี อัทธเสรี. (2543) การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสภาการพยาบาล, 15(1), 34-45.
วิจิตรา พูลเพิ่มทรัพย์. (2540). หลักการบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2541). ต้นทุนการผลิตของวิทยาลัยพยาบาล/วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2539-2541. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2545). การคำนวณหาต้นทุนผลผลิตการจัดการศึกษาในวิทยาลัยของสถาบันพระบรมราชชนก. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก.
สมคิด แก้วสนธิ และภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2536). เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข : การวิเคาะห์และประเมินผลบริการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สุวาลี ชูเกียรติ สุรศักดิ์ พุฒิวณิชย์ และนภาพร พุฒิวณิชย์. (2551). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิตพยาบาลและพัฒนาบุคคลากรด้านสุขภาพขของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลาปี งบประมาณ 2550. สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
อัจฉรา กลิ่นจันทร์. (2550). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
Drummond, M.F., McGuire A. (2007). Ecnomomic Evaluation in Health Care: Merging theory with practice. Oxford: Oxford University Press.
Robinson, M. & Last D., (2009). A Basic Model of Performance-Based Budgeting. Washington DC: Fiscal Affair Department.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.