การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ พิมใจใส มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้  เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับแนวคิดการออกแบบการสอนเชิงระบบ ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน  3) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน โดยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาไปทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม จำนวน 96 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 48 คน และกลุ่มควบคุม 48 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ คู่มือผู้สอน คู่มือผู้เรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้  เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ที่พัฒนาขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ มีชื่อว่า "รูปแบบการเรียนการสอนพาร์เซ่ (PARCE)" ประกอบที่ 5 ขั้นตอน (PARCE model) ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparation: P) ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Action: A) ขั้นสะท้อนความคิด (Reflection: R) ขั้นสร้างความรู้ (Construction: C) และขั้นและประเมินผล (Evaluation: E) และผลการตรวจสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ของรูปแบบเท่ากับร้อยละ 80.88 และประสิทธิภาพของผลผลิต (E2) ของรูปแบบเท่ากับร้อยละ 82.75 สำหรับผลการนำ รูปแบบการเรียนการสอนไปใช้  พบว่า ความสามารถในการเรียนรู้หลังการทดลองของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม และสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุปรูปแบบการเรียนการสอน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ ได้แก่ทักษะการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า และการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาลได้ ข้อเสนอแนะ ควรมีการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปปรับใช้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีอื่นๆ หรือในรายวิชาต่างๆ ในทุกชั้นปี  และในการจัดการเรียนการสอนควรจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญ หรือพี่เลี้ยงทางวิชาการ เพื่อสังเกตการเรียนการสอนของผู้สอนและสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาปรับปรุงและช่วยเหลือชี้แนะ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพความสามารถในการปฏิบัติการสอนของผู้สอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2542). ปฏิรูปวิธีคิดแบบไทยต้องทำให้ครบ 10 มิติ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อพัฒนา (ไอ เอฟ ดี). กรุงเทพมหานคร : [ม.ป.พ.] (เอกสารอัดสำเนา).

______.(2542). "ข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปการศึกษา" ในเอกสารสัมมนาเรื่องวิกฤตและโอกาสในการปฏิรูปการศึกษาและสังคมไทย หน้า 4-35. กรุงเทพมหานคร:[ม.ป.พ.].

โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2542). "การพัฒนาครูรูปแบบใหม่". วารสารครุศาสตร์. 27(2) : 37-51.

ไข่มุกข์ วิเชียรเจริญ. (2539). การวิเคราะห์หลักสูตรวิชาชีพการพยาบาลระดับพื้นฐานในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ทิศนา แขมมณี. (2549). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์.

บัณฑิต ทิพากร. (2550). "การพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา". ในไพทูรย์ สินลารัตน์ บรรณาธิการอาจารย์มืออาชีพ : แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

ประภาวัลย์ แพร่วานิชย์. (2543). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แผนผังทางปัญญาเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียา นพคุณ. (2545). การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวการสร้างองค์ความรู้ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรียา บุญญสิริ. (2551). การจัดการเรียนการสอนตามแนวการสร้างองค์ความรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://158.108.70.5/emagazine/emagazine2/mag.htm. (วันที่ค้นข้อมูล 12 ตุลาคม 2551).

พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์. (2542). "แนวทางการพัฒนาการศึกษา" ในเอกสารประกอบการอบรมโครงการการเสริมสร้างยุทธศาสตร์ทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา. 1 มิถุนายน -14 กรกฎาคม 2542 ณ โรงแรมลองบีช ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี.

พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และที่แก้เพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.tnc.or.th/file_attach/19Jan200723-AttachFile1169196803.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2551).

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ และ Basanti Majumdar.(2544). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรสแอนด์กราฟฟิค.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก.(2545). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบูรณาการ เพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม ของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุข (สาธารณสุขชุมชน) ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วารีรัตน์ แก้วอุไร.(2541). การพัฒนารูปแบบการสอนสำหรับวิชาวิธีสอนทั่วไปแบบเน้นกรณีตัวอย่างเพื่อส่งเสริมความสามารถของนักศึกษาครูด้านการคิดวิเคราะห์แบบโต้ตอบในศาสตร์ของการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิวัฒน์ ขัตติยะมาน. (2549). "การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง (Authentic instruction)". วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ. 5 (1): 52-63.

สุวิทย์ มูลคำ. (2551). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Bloom, B. S. et al. (1956). Taxonomy of educational objectives. Handbook I: Cognitive domain. New York: David McKay Co.

Bostock, S. J. (1998). "Constructivism in mass higher education : A Case Study". British Journal of Educational Technology. 29(3) : 225-240.

Chris R., and et al. (2005). "The introduction of large class problem-based learning into an Undergraduate medical curriculum: an evaluation". Medical Teacher. 27(6) :527-533.

David, M. H, Harden, R. M.( 1999). "AMEE Medical Education Guide No.15: Problem-based Learning: a practical guide". Journal of Medical Education. 21 : 130-140.

Dixon, N. M. (1998). "Action learning: More than just a task force". Performance Improvement Quarterly. 11(1) : 44-58.

Dunlap, J. C. and Grabinger, R. S. (1996). Rich environments for active learning in height education curriculum. In B. Wilson (Ed.), Constructivist learning environments:Case studies in instructional design. Englewood cliffs, NJ: Educational Technology Publications.

Dunlap, J. C. and Grabinger, R. S. (2002). Constructivism. [online]. Available from : http://www. springerlink.com/content/d6a7e0wlfv1u9391/. (Accessed 10 October 2008).

Marquardt, M.J. (1999). Action learning in action: Transforming problems and people for world-class organization learning. Palo Alto: Davies-Black Publishing.

Moscovici, H., and et al. (1994). Reflective tools' for college teaching and learning. Panel presentation, Association for the Education of Teacher in Science, El Paso,Texas.

Von Glasserfield, E. (1995). A constructivist approach to teaching. In L. Steffe & J. Gale (Eds.), Constructivism in education (pp. 3-16). Hillsdale, New Jersey : Lawrence Erlbaum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-04-30