การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
บทคัดย่อ
โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคที่สัมพันธ์กับความเสื่อมของร่างกายในผู้สูงอายุ และส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้สูงอายุ อีกทั้งเป็นการเพิ่มภาระสำหรับผู้ดูแลที่มักเป็นวัยแรงงานอันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม ก่อน - หลัง เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชน (บุษบงก์ วิเศษพลชัย, 2550) ซึ่งประกอบด้วย การประเมินภาวะสุขภาพ การให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม การออกกำลังกาย การประคบสมุนไพร การควบคุมน้ำหนักตัว การผ่อนคลายความเครียด และการดูแลที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่ได้รับการวินิจฉัยตรวจ คัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมความรุนแรง ระดับน้อย ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน สุ่มจับฉลากชุมชน 2 ชุมชน เป็นกลุ่มทดลองกับกลุ่มเปรียบเทียบ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2553 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่า แบบประเมินความวิตกกังวลสำหรับผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม และแบบสอบถาม ความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนที่ 2 ประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเพื่อชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t-test, paired t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Ancova)
ผลการวิจัย พบว่า ในระยะหลังการใช้ปฏิบัติิิการพยาบาลในการชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองมีความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าและความวิตกกังวลน้อยกว่า และมีความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าก่อนเข้าร่วมการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้วิจัยเสนอว่า ควรมีการติดตามประเมินความรุนแรงของอาการปวดเข่าและการปฏิบัติตนตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ อย่างต่อเนื่อง ควรให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุรวมทั้งผู้ดูแลด้วยการสอนแสดงประกอบการใช้สื่อที่หลากหลายรูปแบบ มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้สูงอายุภายในชมรมผู้สูงอายุ รวมทั้งการเผยแพร่แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ชุดนี้ ไปสู่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ
References
กนกพร สุคำวัง. (2540). แบบจำลองเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ขวัญตา เพชรมณีโชติ. (2543). ผลการฝึกสมาธิตามแบบพุทธวิธีต่อการลดความวิตกกังวลและความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทนา ทองชื่น. (2545). ผลของระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดารณี ทองสัมฤทธิ. (2542). ผลของการจัดโปรแกรมกายบริหารแบบไทยต่อการควบคุมภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทวีพร เตชะรัตนมณี. (2456). ความสามารถในการดูแลตนเองและการรับรู้สภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนิษฐา อังคาระอาพันธ์. (2549). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการชะลอความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ. การศึกษาด้วยตนเอง ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
เบญจมาศ ม่วงทอง. (2544). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการดูแลตนเองของผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อมที่มารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุษบงก์ วิเศษพลชัย. (2550). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชน. การศึกษาด้วยตนเอง ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ปราณี กาญจนวรวงณ์. (2539). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปราโมทย์ เสถียรรัตน์. (2546). ประสิทธิผลเบื้องต้นของการประคบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
พะยอม สุวรรณ. (2543). ผลของการประคบร้อนด้วยสมุนไพรต่ออาการปวดข้อ ข้อฝืด และความลำบากในการทำกิจกรรมในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2549). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน.
มาริสา สุวรรณราช. (2544). ความปวด การจัดการกับความปวด และภาวะสุขภาพในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
รุ่งศักดิ์ ศิรินิยมชัย. (2545). ผลของกระบวนการเรียนรู้และสะท้อนคิดต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิภา แก้วเคน. (2545). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนี สุวรรณพสุ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยแรงสนับสนุนทางสังคมกับการปรับตัวของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรสา กาฬรัตน์. (2544). ผลของการนวดแผนไทยต่อการปวดข้อในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Baar, M.E., et. al. (2001). Effective of exercise in patients with osteoarthritis of hip or knee: nine months' follow up. Annals rheumatoid Disease. (60) : 1121-1130.
Brandt, K.D., Heilman, D.K., Slemeda, C. (1999). Quadriceps strength in women with radiographically progressive Osteoarthritis of the knee and those with stable radiographic changes. Journal rheumatology. (26) : 2431-2437.
Charnicia, H. (2006). Weight loss may reduce arthritis disability. New York : Oxford University.
Felson, D.T., Anderson, J.J., Naimark, A., & et.al. (1997). Obesity and knee Osteoarthritis. Annals internal medicine. 10918-10924.
Hinmen, RC, Crossley, K.M. & Mc Connell, J. (2003). Efficacy of knee tape in the management of Osteoarthritis of the knee. (Electronic version). British medicine journal. 327(7407) : 135.
Jette, A.M., et.al. (1996). A home-basec exercise program for nondisabled older adult. Journal american geriatrics society. (44) : 644-649.
McGuffin, H.C., et. al. (1997). American herbal products association's botani cal safety handbook. CRC Press. : Boca Raton.
Melnyk, B.M. & Fineout-Overholt, E. (2005). Evidence - based practice in nursing and health care: A guide to best practice. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins.
Robin, M.C. & Edward, F. (2003). Weight loss may reduce arthritis disability. New York : Reuters Health.
Stephen, P.M. & David, J. (2005). The impact of weight loss on osteoarthritis. Philadelphai : J.B. Lipincott Company.
Walter, H.E. & et al. (1997). A randomized trial comparing aerobic exercise and resistance exercise with a health education program in older adults with Knee os teoarthritis. JAMA. 277 (1): 25-31.
Wyatt, F.B., Milam, S., Manske, R.C., & Deere, R. (2001). The effects of aquthatic and traditional exercise programs on persons with knee osteoarthritis. (Electronic version). Journal of strength and conditioning research. 15 (3) : 337-400.