การวิจัยอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณนา
บทคัดย่อ
บทความนี้กล่าวถึงนิยามศัพท์ องค์ประกอบ การสัมภาษณ์แบบ EFR การค้นหาแบบแผนของคำตอบ การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลข้อมูล และการเขียนรายงานที่ใช้ในการวิจัยอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic futures research - EFR) ระเบียบวิธีการวิจัยอนาคตเชิงวัฒนธรรมวิธีนี้พัฒนาขึ้น โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณโรเบิร์ต บี. เท็กซ์เตอร์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มีเป้าหมายเพื่อทำให้สภาพการณ์ที่เป็นจริงของผู้คนในอนาคตดีขึ้น EFR มุ่งศึกษาวัฒนธรรมในอนาคตโดยการสร้างภาพอนาคตสามภาพ ได้แก่ ภาพอนาคตแง่ดี ภาพอนาคตแง่ร้าย และภาพอนาคตที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด
References
สิปปนนท์ เกตุทัต. (2534). ทางสายกลางในอนาคตของประเทศไทย เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ไทยวัฒนาพาณิชย์ กรุงเทพฯ.
Sippanondha Ketudat. (1992). The middle path for the future of Thailand : Technology in harmony with culture and environment. 2nd Ed. With the methodological and editorial collaboration of Robert B. Textor. Institute of Culture and Communication, East-West Center and Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University. Thai Watana Panich Press. Bangkok.
Textor, R. B. (2009). Bibliography of futures-oriented research.Current to May 2009.
Textor, R. B. (2009). EFR Interview Reminder Sheet.
Textor, R. B. (2008). Ethnographic future research, A short history, August 2008.
Textor, R. B. (2008). The E.F.R interview: Practical suggestions based on Dr. Sippanondha Ketudat's "The middle path for the future of Thai land", August 2008.
Textor, R. B. (1992). Introduction, in S. Ketudat. The middle path for the future of Thailand : Technology in harmony with culture and environment. Honolulu, Hawaii, Institute for culture and Communication, East-West Centre. http://www.stanford.edu/~rbtextor/ สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2552.
Textor, R. B. (1980). A Handbook on ethnographic futures research. 3rd Ed. Cultural and Educational Futures Research Project, School of Education and Department of Anthropology, Stanford University, Stanford, CA.