ปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ ของมารดาที่มีบุตรสาววัยรุ่นตอนต้น

ผู้แต่ง

  • สุธีราวัลย์ ศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          เด็กหญิงเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยเฉพาะอนามัยเจริญพันธุ์ จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากมารดา เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพทางเพศ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาที่สร้างกรอบแนวคิด จากทฤษฎีการพยาบาลครอบครัวของ ฟรีดแมน (Friedman, 2003) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายการให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ของมารดาที่มีบุตรสาววัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาที่มีบุตรสาวอายุ10-13 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 7 โรงเรียน ในเขตอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 319 คน ได้จากวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2551 โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 6 ชุด ที่ผู้วิจัยพัฒนาจากวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้อง ได้ผ่านการตรวจสอบเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.75 - 0.83 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อีต้า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า การให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ และเจตคติต่อเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี สัมพันธภาพระหว่างมารดากับบุตรสาว และความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยระดับการศึกษาของมารดา รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่างมารดากับบุตรสาววัยรุ่นตอนต้น ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ และเจตคติต่อเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์มีความสัมพันธ์เชิงบวก กับการให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ ปัจจัยเจตคติต่อเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ สัมพันธภาพระหว่างมารดากับบุตรสาว ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ การศึกษาไม่ได้เรียน รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวด และการศึกษาระดับอุดมศึกษา สามารถร่วมกันทำนายการให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ของมารดาที่มีบุตรสาววัยรุ่น ได้ร้อยละ 27.6 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

          ผู้วิจัยเสนอแนะว่า สถาบันครอบครัว โดยเฉพาะมารดาควรตระหนัก ถึงความสำคัญของการให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์แก่บุตรสาววัยรุ่นตอนต้น โดยโรงเรียนและชุมชนควรมีส่วนร่วมในการจัดโครงการเพื่อเพิ่มทักษะให้มารดามีความรู้เรื่อง เพศ อนามัย เจริญพันธุ์อย่างถูกต้อง เพื่อให้มารดาสามารถแสดงบทบาทการให้ความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์แก่บุตรสาววัยรุ่นตอนต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมสามัญศึกษา. (2551). โรงเรียนในอำเภอบ้านแพ้ว. สมุทรสาคร : สาธารณสุขอำเภอบ้านแพ้ว.

กุลชลี ภูมรินทร์. (2535). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพกับพฤติกรรมการดุแลตนเองในเด็กวัยเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริย นวมาลา. (2552). บทบาทของสมาชิกหลักของครอบครัวในสังคมชานเมืองที่มีต่อเพศศึกษาของวัยรุ่นไทย : กรณีศึกษาของชุมชนศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิสมัย นพรัตน์. (2543). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภารดี ประเสริฐวงษ์. (2549). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์และแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มลิจันทร์ เกียรติสังวร. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาของมารดาแก่บุตรสาววัยรุ่น อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2536). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

_______ (2545). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภาศิริ การิกาญน์. (2540). บทบาทพ่อแม่ ในการสอนเพศศึกษาแก่ลูกสาววัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี. (2552). Teenage pregnancy. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://hc4rb.anamai.moph.go.th. (สืบค้นวันที่ 13 กันยายน 2553).

สมพล วันต๊ะเมล์. (2550). การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเยาวชนไทยในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามนุษยศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมสมัย โคตรชุม. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสอนเพศศึกษาของบิดามารดา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุชาติ โสมประยงค์และวรรณา โสมประยงค์. (2541). เพศศึกษา : ความรู้เรื่องเพศและการสอนเพศศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุพนิดา ชัยวิทย์. (2549). การจัดการในครอบครัวกับพฤติกรรมทางเพศ ของวัยรุ่นหญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อร่ามศรี กฤษณเศรณี. (2543). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะชีวิตและอนามัยเจริญพันธุ์เพื่อส่งเสริมอนามัยการเจริญพันธุ์สำหรับกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย กรณีศึกษาแบบมีส่วนร่วมในสถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ

อินทิรา ปัทมินทร. (2537). รู้จักชีวิตพิชิตปัญหา : จิตวิทยาในการพิชิตอุปสรรคและปัญหาชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.

Friedman, M.M. (2003). Family nursing : Theory and assessment. Norwalk : Appleton & Lange.

Friedman, Bowden,and James. (2003). Family nursing : Research, Theory, and practice. 5th Edition. Norwalk : Appleton & Lange.

Yamane,T. (1967). Statistics ; An introductory analysis. 2nded. New York : Harper & Row Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2010-12-31