ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
บทคัดย่อ
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ปัจจุบันอัตราการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นมีแนวโน้มมากขึ้น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม (Theory of Planned Behavior: TPB) ของเอจเซน (Ajzen,2006) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 350 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2554 ใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว ประกอบด้วย เจตคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ กับ ความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .428, .126, และ .407 p < 0.001) ตามลำดับ ปัจจัยเจตคติต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ สามารถร่วมกันทำนายความผันแปรของความตั้งใจที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้ร้อยละ 23.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผู้วิจัยมีเสนอแนะให้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียน ทำแผนส่งเสริมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศทั้งในสถานศึกษาและในชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยกระตุ้นให้เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน สื่อมวลชนและสถานบันครอบครัวเพื่อการป้องกันปัญหาความเสี่ยงทางเพศในนักเรียนวัยรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
References
กิตติมา จั่นบำรุง. (2548). ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมการป้องกันปัญหาทางเพศในวัยเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวันนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
กลุ่มโรคเอดส์ สำนักโรคเอดส์. (2548). สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนนทบุรี.
กองอนามัยเจริญพันธ์. (2550). การควบคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่น. กรุงเทพ:โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก กรุงเทพมหานคร .
คณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา. (2554). รายงานพิจารณาถึงเรื่องปัญหาการ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. (เอกสารอัดสำเนา).
จตุพล อภิวงค์งาม. (2549). ความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณมน ธนินธญางกูร. (2543). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขต เทศบาสนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นงเยาว์ จันทร์ทองคำและคณะ. (2547). การสำรวจ ความรู้เรื้องเอดส์ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์ในกลุ่มการศึกษานอกโรงเรียนในโรงเรียนจังหวัดสมุทรปราการ. รายงานวิจัย กลุ่มโรคเอดส์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุม กระทรวงสาธารณสุข.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.