ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ ระหว่างการออกกำลังกายแบบชี่กงและการออกกำลังกายแบบท่าฤๅษีดัดตน
บทคัดย่อ
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยสำคัญของการเพิ่มความสามารถด้านการทรงตัวในผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งเสริมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าการออกกำลังกายแบบชี่กงสามารถป้องกันการสูญเสียการทรงท่าและการเดินในผู้สูงอายุได้นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการออกกำลังกายแบบท่าฤๅษีดัดตนมีผลต่อการเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังและขาได้ จึงนำมาสู่การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวระหว่างการออกกำลังกายแบบชี่กงและการออกกำลังกายแบบท่าฤๅษีดัดตน ในผู้สูงอายุระหว่าง 60-75 ปี
ในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออกกำลังกายแบบชี่กง จำนวน 10 คน และกลุ่มออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตน จำนวน 10 คน ทั้ง 2 กลุ่ม ออกกำลังกาย เป็นเวลา 20 นาที ต่อ 1 วัน และ 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ติดต่อกัน นำผลของการทรงตัวที่วัดได้จาก ค่า Berg Balance Scale (BBS) มาเปรียบเทียบโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่าง ก่อนและหลัง ภายในกลุ่มใช้ paired sample t-test และการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มออกกำลังกายแบบชี่กง และกลุ่มออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตน ใช้ Independent sample t-test ผลการวิจัย พบว่าเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง ค่า BBS ของผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบค่า BBS ระหว่างกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นสรุปได้ว่า การออกกำลังกายแบบชี่กงและการออกกำลังกายแบบฤๅษีดัดตน สามารถเพิ่มความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในเรื่องเดียวกันนี้
References
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2544). กายบริหารแบบไทย ท่าฤๅษีดัดตนพื้นฐาน 15 ท่า. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.
นงนุช พลบูรณ์ และ สุจิตรา บุญมา. (2543). ผลการเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของหลังและขาในการทำท่าฤๅษีดัดตนในนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นอายุระหว่าง 18-25 ปี.
สมนึก กุลสถิตพร. (2549). กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ ออฟเซ็ท เพรส จำกัด.
อัจฉรา หอสุวรรณานนท์. (2552). ความสามารถในการทรงตัวในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี อายุระหว่าง 60-70 ปี ในกลุ่มที่ไม่มีการออกกำลังกายกับกลุ่มที่ออกกำลังกายทั้งแอโรบิคและแบบไท้ชี่
Dalia Zwick,et al.(2000). Evaluation and treatment of balance in the elderly : A review of the efficacy of the berg balance test and thi chi quan. Neuro rehabilitation.
Fuzhong LI, et al. (2004). Tai Chi: Improving functional balance and predicting subsequent falls in older persons. Medicine & science in sports & exercise.
Galantino, M. L., Bzdewka, T.M., Eissler-Russo, J. L., et al. The impact of modified Hatha yoga on chronic low back pain. : a pilot study 2004.
Haaz,s., (2007). Improements in quality of life with modified yoga for persons with arthritis.