ปัจจัยที่ส่งผลต่อความความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร* สังกัดมหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย พัฒนวงค์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยคริสเตียน ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลแสดงความคิดเห็นของบุคลากรของมหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 254 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า

          บุคลากรมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.19,SD = 0.56) ตามลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา/ ผู้ร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานด้านลักษณะงานและระยะเวลาในการทำงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านความก้าวหน้าในงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .05 เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรที่มีลักษณะงานแตกต่างกัน 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่กลุ่มคณาจารย์และกลุ่มเจ้าหน้าที่/พนักงานส่วนสนับสนุน จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .05  สำหรับการเปรียบเทียบความพึงพอใจของบุคลากรที่มีระยะเวลาทำงานต่างกันโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มบุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงานในระยะเวลา 3-6ปี กับกลุ่มบุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงานในระยะเวลามากกว่า 6 ปีพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ.05 เช่นกัน

References

จันทร์จิรา วงขมทอง. (2551). คู่มือคุณภาพ. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ณัฐจรี เพชรปาณีวงศ์. (2549). ปัจจัยจูงใจในการทำงานของพนักงานในธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทองศรี กำภู ณ อยุธยา. (2539). การบริหารงานบุคคลแนวใหม่. กรุงเทพ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธงชัย สันติวงศ์. (2533). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช

เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร. (2547). จิตวิทยามนุษย์เชิงธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วังอักษร

ภิญโญ สาธร. (2536). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพาณิช

สุพรรณี พงษ์ตระกูล. (2550). ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้บรรจุกระป๋อง ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุบิน รักเหล่า. (2545). ความพึงพอใจของพนักงานต่อปัจจัยจูงใจในการทำงานหลังการนำ ISO 9002 มาใช้ในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัญมณี บูรณการนนท์. (2546). “การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์” วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 1 มกราคม - มิถุนายน

อภิวันท์ มหาวัจน์. (2549). ความพึงพอใจในงานของพนักงานสหกรณืการเกษตรในจังหวัดอุบลราชธาณี. ภาคนิพนธ์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Barnard, C. I. (1968). The function of the executive. Combridge : Harvard University Press,

Gillmer, B von Haller. (1971). Industrial and organization psychology. (3nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Herzerg's , F.Benard, M'and Barara,B.S. (1959). The Motivation to work. New York : JohnWilling and son.

Milton, C.R. . (1981). Human behavior in organization : Three livels of behavior. New Jersey : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-08-31