การศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ ประจำปีการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยคริสเตียน
บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมในการทำงาน การวางแผนโครงการหรือกิจกรรมของหน่วยงาน มีผลโดยตรงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและกำลังใจของบุคคลในองค์กรโดยรวมอันจะก่อให้เกิดการยอมรับและมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างบุคลากรด้วยกันและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น การศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ ประจำปีการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยคริสเตียนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม และศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะรวมทั้งแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ประจำปีการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยคริสเตียน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 - ธันวาคม 2553 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 159 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ ประจำปีการศึกษาในภาพรวมและทุกด้านมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =3.22,S.D.=073) เมื่อพิจารณาการจัดลำดับการมีส่วนร่วมเป็นรายด้านกลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติด้านการปฏิบัติตามแผนฯ (x̄ =3.31,S.D.=0.74) อยู่ในลำดับแรก รองลงมา คือ ด้านการจัดทำแผน (x =3.28,S.D.=0.74) ด้านการติดตามการประเมินผลการดำเนินงานตามแผน (x̄ =3.17,S.D.=0.73) และด้านการเตรียมวางแผน (x̄ =3.14,S.D.=0.73) ตามลำดับ
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ ยังมีความรู้ ความเข้าใจน้อย และมีการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ และเวลาเตรียมวางแผนน้อย คณะวิชาและส่วนงานสนับสนุนวิชาการยังไม่ได้มีการทำความเข้าใจใน กลยุทธ์ที่มหาวิทยาลัยฯกำหนดไว้อย่างจริงจัง ทำให้ไม่สามารถนำกลยุทธ์ฯไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง มีการประเมินผลการดำเนินงานที่เกินกรอบเวลาที่มหาวิทยาลัยฯกำหนด ดังนั้น จึงควรมีการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดและอุปสรรคในการจัดทำแผนของแต่ละส่วนงาน การพัฒนาคู่มือการเขียนแผนปฏิบัติการฯให้เกิดความชัดเจน ควรจัดประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดทำและปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการฯ โดยมีบุคลากรที่มีประสบการณ์เป็นผู้ให้คำแนะนำ รวมทั้งควรเน้นการให้ความสำคัญกับการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานที่ตรงตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์การบรรลุเป้าหมายของมหาวิทยาลัยฯ ตามกรอบเวลาที่กำหนด
References
จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง และคณะ. (2550). คู่มือการเขียนแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
______(2552). แผนกลยุทธ์การดำเนินพันธกิจอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน ปีการศึกษา 2552.นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
______(2552). แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยคริสเตียน ปีการศึกษา 2552.นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ชำนาญ บูรณโอสถ. (2547). การศึกษากระบวนการวางแผนพัฒนามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ.
นงนุช บุญยัง. (2554). การวางแผนกลยุทธ์ทางการพยาบาล. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545).
ประชุม รอดประเสริฐ. (2539). นโยบายและการวางแผน : หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.
ประยุทธ์ ชูสอน. (2532). รูปแบบการวางแผนในระดับคณะของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วุฒิชัย ประเสริฐสุข. (2537). กระบวนการวางแผนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (อุดมศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2537). การวางแผนการศึกษา. กรุงเทพฯ : เอส ดี เพรส.
เอกกมล เอี่ยมศรี. (2554). การใช้ TOWS matrix. [online]. available from: https://www.oknation.net. (วันที่ค้นข้อมูล 3 ตุลาคม 2554).
Cobbold, I. and Lawrie, G. (2002a). “The development of the balanced scorecard as a strategic management tool”. Performance measurement association 2002.
Krejcie, R.V.and Morgan,V.D. (1970). “Determining sample size for research Activities”. Educational and Psychological Measurement. p80,607-610.
Porter, M.E. (2008). The five competitive forces that shape strategy, Harvard business Review, January 2008.
Wikipedia. (2011). SWOT Analysis. [online]. available from : https://en.wikipedia.org.(วันที่ค้นข้อมูล 3 ตุลาคม 2554).