สิทธิมนุษยชน

ผู้แต่ง

  • ธนพร ศริพงษ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร สิทธิมนุษยชนมีที่มาจากแนวคิดในเรื่องกฎหมายธรรมชาติและปรัชญาสิทธิธรรมชาติ และมีวิวัฒนาการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับสากล โดยสหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2491 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  เพื่อใช้เป็นมาตรฐานกลางสำหรับบรรดาประเทศสมาชิกที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดผลภายในประเทศของตน  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 ประกอบด้วยข้อความ 30 ข้อ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สิทธิทางการเมืองหรือทางแพ่ง (Political or civil rights) ได้แก่ บทบัญญัติข้อที่ 1-21 และสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and social rights) ได้แก่บทบัญญัติข้อที่ 22-30 

          สำหรับประเทศไทยมีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยได้ร่วมลงมติรับรองปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน และได้พัฒนากลไกภายในประเทศ  เพื่อช่วยสนับสนุนให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนประสบผลสำเร็จ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550   คณะกรรมการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นองค์กรอิสระ นโยบายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ส่วนความร่วมมือระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้ตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศหรือแนวปฏิบัติระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม

          เรื่องของสิทธิมนุษยชนได้ทวีความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะในกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ค่านิยมสากลในเรื่องประชาธิปไตย กระแสสิทธิมนุษยชน การร่วมกันปกป้องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสูงในสังคมไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยและสังคมไทยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ประกันสิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษยชนไว้ค่อนข้างครบถ้วน แต่ยังคงมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่บ้าง และการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ  เพื่อให้คนไทยได้มีข้อมูลและเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

References

กุลพล พลวัน. (2543). สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักอัยการสูงสุด.

คณะกรรมการว่าด้วยการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2554). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : w.w.w.ariation.go.th/ (วันที่สืบค้นข้อมูล 20 ตุลาคม 2554).

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

คณะกรรมการกฤษฎีการ. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ.

จรัล ดิษฐาอภิชัย. (2550). คู่มือสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2554). สิทธิมนุษยชนกับความมั่นคงของชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www..midnightuniv.org/forum/index.php. (วันที่สืบค้น 10 กรกฏาคม 2554 ).

มติชนออนไลน์. (2554). กฎหมายป้องกันค้ามนุษย์ใช้แล้ว-หากแพร่ภาพ เสียงชื่อเหยื่อมีโทษจำคุก. วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2554). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ (วันที่สืบค้น 10 กรกฏาคม 2554).

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2554). พันธกรณีระหว่างประเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : w.w.w.nhrc.or.th/ (วันที่สืบค้น 10 ตุลาคม 2554 ).

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2546). เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัทสร้างสื่อจำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-08-31