การศึกษาศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลพระประโทน

ผู้แต่ง

  • สุพจน์ สุทธิศักดิ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง “การศึกษาศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลพระประโทน” พบว่ามีศิลปวัตถุและโบราณวัตถุในสมัยต่างๆ ทั้งสิ้น 224 ชิ้น ได้แก่

  1. ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย ภาชนะดินเผาทรงกลม 30 ชิ้น ภาชนะดินเผาคล้ายพาน 16 ชิ้น ภาชนะดินเผาคล้ายครก 1 ชิ้น ภาชนะดินเผาคล้ายชามขนาดเล็ก 1 ชิ้น ตะคันดินเผา 2 ชิ้น ขวานหินมีบ่า 1 ชิ้นขวานหินไม่มีบ่า 1 ชิ้น สร้อยลูกปัดเปลือกหอย 2 เส้น ฟอสซิลเปลือกหอย 1 ชิ้น  และดินแม่น้ำ 7 ชิ้น
  2. ศิลปวัตถุสมัยทวารวดีประกอบด้วย ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา 96 ชิ้น ชิ้นส่วนเตาสามขา 2 ชิ้น  เดือยกระเบื้องดินเผา 1 ชิ้น ชิ้นส่วนประติมากรรมดินเผา 1 ชิ้น ลูกกลิ้งประทับลายดินเผา 1 ชิ้น แวดินเผา 2 ชิ้น ต่างหูดินเผา 1 ชิ้น  ตุ๊กตาดินเผา 1 ตัว  คนทีดินเผา 1 ใบ  แม่พิมพ์พระพิมพ์ดินเผา 1 ชิ้น  พระพิมพ์ดินเผา 1 องค์ พระพิมพ์ดินเผาแบบซุ้มพุทธคยา 1 องค์ ชิ้นส่วนพระพิมพ์ดินเผา 14 ชิ้น อิฐดินเผา 1 ก้อน ชิ้นส่วนหิน 1 ชิ้น  ชิ้นส่วนหินบดยา 3 ชิ้น แท่นหินบดยา 2 ชิ้น กำไลสำริด 15 วง ลูกกระพรวนสำริด 1 ลูก เศียรพระพุทธรูป 1 เศียร ชิ้นส่วน มือข้างซ้าย 1 ชิ้น ลูกปัดแก้วสี 13 เม็ด และกำไลแก้ว 1 วง
  3. ศิลปวัตถุสมัยลพบุรีมีจำนวน 1 ชิ้น ได้แก่ ชิ้นส่วนยอดของพระพิมพ์ดินเผา
  4. ศิลปวัตถุสมัยสุโขทัย มีจำนวน 1 ชิ้น ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องเคลือบดินเผา ชนิด Celadon จากเตาเผาศรีสัชนาลัย
  5. ศิลปวัตถุสมัยอยุธยา ประกอบด้วย ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา 7 ชิ้น เดือยกระเบื้องดินเผา 2 ชิ้นพระพิมพ์ดินเผา 2 องค์ และชิ้นส่วนแท่งหินบดยา 1 ชิ้น
  6. ศิลปวัตถุสมัยรัตนโกสินทร์ มีจำนวน 1 ชิ้น ได้แก่ หัวงูปูนปั้น
  7. ศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่ไม่สามารถระบุสมัยได้ มีจำนวน 3 ชิ้น ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา  ชิ้นส่วนหินขนาดเล็ก  และฟันกรามของวัว

References

กิตติ ตันไทย. (2550). ประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ชมพูนุท ประศาสน์เศรษฐ. (2547). นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

เซเดส์,ยอร์ช. (2472). ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนาการ.

ต. อมาตยกุล (นามแฝง). (2494). “นครปฐมไม่ใช่เมืองดอน”. นิทานประวัติศาสตร์และโบราณคดี. กรุงเทพฯ : บรรณาคาร.

ตราศิลป์ ศิลปบรรเลง. (2530). “การศึกษาเครื่องประดับสมัยทวารวดี ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในภาคกลางของประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิดา สาระยา. (2539). อารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

น. ณ ปากน้ำ (นามแฝง). (2541). ศิลปะก่อนกรุงศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ผาสุข อินทราวุธ. (2542). ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย.

_____. (2545). “เมืองนครปฐมสมัยทวารวดี”. เอกสารประกอบโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ลุ่มน้ำท่าจีนถิ่นวัฒนธรรม แหล่งสำคัญทวารวดีศรีอาณาจักร เอกลักษณ์งานศิลป์ถิ่นสนามจันทร์”.นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์. (2549). โครงการศึกษาและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมในลุ่มน้ำบางแก้ว-บางแขม เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว. นครปฐม : บริษัทเพชรเกษมการพิมพ์.

พิริยะ ไกรฤกษ์. (2544). อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ไพจิตร ปอศรี. (2540). ประวัติศาสตร์เมืองนครปฐม. นครปฐม : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.

มานพ ถนอมศรี. (2546). ศรีสัชนาลัย โบราณสถานสามสมัย. กรุงเทพฯ : บริษัท คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2547). ภูมิปัญญาไทย : วิถีไทย. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สันติ เล็กสุขุม. (2547). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ) พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2548). การจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถาน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บริษัทศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์ จำกัด.

สุโขทัยธรรมาธิราช,มหาวิทยาลัย. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อุษา ง้วนเพียรภาค. (2541). “เรื่องเจดีย์จุลประโทณ”. ประวัติวัดพระประโทณเจดีย์ วรวิหารองค์พระประโทณเจดีย์ จุลประโทณเจดีย์. กาญจนบุรี : สหายการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-12-31