กระบวนทัศน์สุขภาพจิตวิญญาณในมุมมองศาสนาสำคัญในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุรชาติ ณ หนองคาย มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการศึกษาแบบ Systematic review นี้เพื่ออธิบายความหมายและที่มาของคำว่าสุขภาพทางจิตวิญญาณในบริบทและกระบวนทัศน์ไทยบนฐานความเชื่อทางศาสนา ระเบียบวิธีศึกษา เป็นการค้นหาจากบทความที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาไทยในเว็บกูเกิ้ลย้อนหลังไปสิบปีระหว่างปี 2545 ถึงต้นปี 2554 โดยใช้คำว่าสุขภาพจิตวิญญาณในมุมมองศาสนาพุทธ อิสลาม และ คริสต์ นำมาคัดตามเกณฑ์คัดเข้าปรากฏว่ามีบทความที่เป็นไปตามเกณฑ์ ๑๑ บทความและนำมาทบทวนเพื่อสรุป ผลการศึกษาพบว่าศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดสามอันดับแรกในประเทศไทยคือพุทธ อิสลาม และ คริสต์ โดยพบว่าศาสนาในกลุ่มที่เป็นเอกเทวนิยมคือ อิสลามและคริสต์เป็นศาสนาที่มีการอธิบายที่มาของคำว่าจิตวิญญาณที่สอดคล้องตรงกันโดยมีรากมาจากคำว่า Spirit ซึ่งตรงกันกับคำว่า Ruh ในศาสนาอิสลาม จิตวิญญาณนี้มีลักษณะสำคัญสามประการคือ ลักษณะที่เป็นพลังทั้งมวล (Omni potent) ความรู้ทุกอย่าง (Omni science) และ อยู่ในทุกหนทุกแห่งหรือการปรับตัวได้ทุกที่ (Omni presence) โดยทั้งสามประการนี้ไม่มีวันสิ้นสูญมีความเป็นอมตนิรันดร์ (Eternity) ส่วนศาสนาพุทธไม่มีคำว่าจิตวิญญาณในพระไตรปิฎก มีแต่คำว่า จิต และ วิญญาณที่มิได้นำสองคำนี้มารวมกัน ดังนั้นหากยึดเอาที่มาจากศาสนาคริสต์และอิสลามมาประกอบกับคำว่าสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จึงน่าจะหมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุลทั้งด้านพลังงาน พลังความรู้ และ ความสามารถการปรับตัวได้ตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับคำว่าสุขภาพปัญญาตามคำนิยามของกฎหมายฉบับดังกล่าว

References

พุทธทาสภิกขุ. (2541). พุทธทาสธรรม 17 สุขภาพจิตวิญญาณ. กรุงเทพ : สุขภาพใจ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพ : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก https://www.84000.org/tipitaka/dic/.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). กระดานสนทนา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.royin.go.th/th/webboardnew/.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). ความหมายกระบวนทัศน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.royin.go.th/th/knowledge/.

เว็บไซต์ กูเกิ้ล. สุขภาพจิตวิญญาณ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy-ab&q=%.

สารานุกรมเสรี. ประวัติกูเกิ้ล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%.

สุขภาพทางจิตวิญญาณในมุมมองศาสนาคริสต์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy-.

“สุขภาพทางจิตวิญญาณในมุมมองศาสนาพุทธ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy.

“สุขภาพทางจิตวิญญาณในมุมมองศาสนาอิสลาม”. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.google.co.th/#hl=th&sclient=psy.

สุรชาติ ณ หนองคาย. (2554). บริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข. (ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ บรรณาธิการ) กรุงเทพ : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวงศ์ ศาสตรวาหา และ สุรชาติ ณ หนองคาย. (2533). กฎหมายการแพทย์ สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพ : เจ้าพระยาการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพ : วิกิ.

สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. (2544). ร่างกรอบความคิดระบบสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพ : บริษัทดีไซร์ จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ/ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. ประชากรและการนับถือศาสนา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/% .

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2544). สู่สุขภาพทางสังคมและจิตวิญญาณ. กรุงเทพ : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

อภิธรรมมูลนิธิ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://abhidhamonline.org/online_study.htm .

Agere, Sam. (2000). Promoting good governance, Principles, Practice and Perspectives. London : Commonwealth Secretariat.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-12-31