ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารตามอัตลักษณ์พื้นที่นครแม่สอด จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, อัตลักษณ์พื้นที่, นครแม่สอด จังหวัดตากบทคัดย่อ
ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารตามอัตลักษณ์พื้นที่นครแม่สอด จังหวัดตาก มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารตามอัตลักษณ์พื้นที่นครแม่สอด จังหวัดตาก และ (2) เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารตามอัตลักษณ์พื้นที่นครแม่สอด จังหวัดตาก การวิจัยฉบับนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนครแม่สอด จังหวัดตาก โดยอาศัยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างจำนวน 6 ราย และ จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โดยการจำแนกข้อมูล จัดเป็นหมวดหมู่ เชื่อมโยงข้อมูลที่ได้และสรุปผลโดยอาศัยความสอดคล้องและความเป็นเหตุเป็นผล ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่นครแม่สอด จังหวัดตาก มีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยมีจุดแข็งจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการท่องเที่ยวของพื้นที่ แต่ทว่ายังมีจุดอ่อนด้านความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว แต่ยังมีอุปสรรคที่สำคัญจากการขาดการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม ในพื้นที่นครแม่สอดมีอาหารหลายชนิดที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่หาที่อื่นได้ยากหลากหลาย ได้แก่ ฮาละหว่า เส็งเผ่ เติ่กโท หมากหวาน โรตีโอ่ง เป็นต้น จากการสำรวจตลาดทั้งแบบชั่วคราว และแบบถาวรในพื้นที่นครแม่สอดพบว่าสัดส่วนของอาหารสำเร็จรูปทั่วไปต่ออาหารที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นที่แตกต่างกันมาก สะท้อนให้เห็นถึงการเลือนหายทางวัฒนธรรมอาหาร สำหรับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารตามอัตลักษณ์พื้นที่นครแม่สอด จังหวัดตาก ได้ดังแนวทาง “MAESOD”; Management Authentic Experience Support Original Culture และ Dimension การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารควรคำนึงถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อรักษาอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมสำหรับเป็นปัจจัยดึงดูดทางการท่องเที่ยวต่อไป
References
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถานการณ์และแนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงอาหาร. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/content.php?nid=7788&filename=
เกษราพร ทิราวงศ์ และ อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง. (2554). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบ้านแม่แรม ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชญานิน วังซ้าย. (2560). Food will keep us alive. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว, 3(1), 61-66.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
เณรัญชรา กิจวิกรานต์. (2557). ภาพลักษณ์อาหารไทย การรับรู้คุณภาพอาหารไทยและแนวโน้มพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10(1), 12-28.
ที่ว่าการอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. (2560). ข้อมูลทั่วไป อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. สืบค้นจาก http://www.maesot.go.th
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1), 103-116.
ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และ พัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). การศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนบ้านทุ่งมะปรัง อำเภอควนโดน และบ้านโตนปาหนัน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(83), 97-112.
ภัทรพร พันธุรี. (2558). การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยผ่านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2), 27-37.
ลักษมี ทุ่งหว้า และคณะ. (2561). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการทีมงาน: กรณีศึกษา กลุ่มแม่บ้านชุมชนเปรมฤทัย เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1), 61-72.
ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดรและคณะ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ, 9(1), 234-259.
สริตา พันธ์เทียนและคณะ. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทย โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง. วารสารวิจัยและการพัฒนามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 184-195.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th
สำนักงานจังหวัดตาก กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. (2560). ข้อมูลทั่วไป จังหวัดตาก. สืบค้นจาก http://www.tak.go.th
สำนักงานเทศบาลนครแม่สอด. (2555). เอกสารประกอบ การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนา“เขตเศรษฐกิจพิเศษ-ท้องถิ่นพิเศษนครแม่สอด”.ตาก: สำนักงานเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก.
หทัยชนก ฉิมบ้านไร่ และ รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2558). ศักยภาพอาหารพื้นเมืองและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 1(1), 37-53.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2559). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. สืบค้นจาก http://www.dasta.or.th/attachments/article/678/822-1416-0.pdf
Getz, D., Robinson, R., Andersson, T., & Vujicic, S. (2014). Foodies and food tourism. UK, Oxford: Goodfellow Publishers.
Goffman E. (1963). Stigma: note on the management of spoiled identity. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall Inc.
Hall.C.M. and Weiler, B. (1992).What’s Special About Special Interest Tourism?.Hall. C.M. & Weiler, B. (Ed), Special Interest Tourism. New York: John Wiley & Sons.
Merriam, S.B. (1998) Qualitative Research and Case Study Applications in Education, San Francisco: Jossey-Bass Publishers.
Patton. M. Q. (2014).Qualitative Research & Evaluation Methods. Thousand Oaks, California: SAGE Publication, Inc.
UNWTO. (2018). Guideline for the Development of Gastronomy Tourism. Retrieved from https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284420957.
UNWTO. (2017). Second Global Report on Gastronomy Tourism. Retrieved from https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284418701.
UNWTO. (2015). Guideline for the Development of Gastronomy Tourism. Retrieved from https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284420957.
UNWTO. (2014). Tourism and Poverty Alleviation.Retrieved from http://step.unwto.org/content/tourism-and-poverty-alleviation-1
UNWTO. (2012). Global Report on Food Tourism.Retrieved from http://cf.cdn.unwto.org/sites/all/files/pdf/global_report_on_food_tourism.pdf