การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการอ่านฉลากโภชนาการของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • บุษรัตน์ พุฒวิชัยดิษฐ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันประชาชนมีการเลือกบริโภคอาหารสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่จะแสดงถึงคุณภาพของอาหารดังกล่าว คือข้อมูลบนฉลากโภชนาการของอาหารนั้นๆ ซึ่งผู้บริโภคควรให้ความสนใจและถือเป็นหน้าที่ที่ต้องอ่านฉลากโภชนาการก่อนการเลือกซื้อหรือบริโภคอาหารทุกครั้ง การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการและศึกษาแนวทางการส่งเสริมการอ่านฉลากโภชนาการของพยาบาลวิชาชีพก่อนการเลือกซื้อหรือบริโภค กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพทั้งหมดที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่นจำนวน 45 คน การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การสำรวจพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย 2) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกถึงเหตุผล ปัญหา และอุปสรรคในการอ่านฉลากโภชนาการ และ 3) การสนทนากลุ่มเพื่อค้นหาแนวทางการส่งเสริมการอ่านฉลากโภชนาการ โดยระยะที่ 2 และ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่าพยาบาลวิชาชีพมีพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการก่อนการเลือกซื้อหรือบริโภคหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 57.8 สำหรับเหตุผลในการอ่านฉลากโภชนาการ เพื่อดูวันผลิต/วันหมดอายุ, เพื่อเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์, คิดว่าเป็นประโยชน์ เหมาะสมและความปลอดภัยต่อสุขภาพ, เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อ และเพราะมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของฉลากโภชนาการ ส่วนปัญหาอุปสรรคในการอ่านฉลากโภชนาการ ได้แก่ มีเวลาในการซื้อผลิตภัณฑ์น้อย, ขาดความรู้เกี่ยวกับฉลากโภชนาการ, ซื้ออาหารนั้นๆ เป็นประจำอยู่แล้ว, มีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์, สินค้าบางชนิดมีให้เลือกน้อย, เชื่อตามการโฆษณา, ตัวอักษรบนฉลากเล็กเกินไป, หน่วยและภาษาบนฉลากเข้าใจยาก รวมทั้งคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์เอง อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการอ่านฉลากโภชนาการก่อนการเลือกซื้อหรือบริโภค ในด้านวิชาการควรมีการอบรมให้ความรู้เรื่องฉลากโภชนาการ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ แก่บุคลากรสาธารณสุข ส่วนด้านนโยบาย ส่วนกลางควรมีการผลิตสื่อโฆษณาที่น่าสนใจ ปรับปรุงฉลากโภชนาการให้อ่านเข้าใจง่าย และกำหนดนโยบายให้บุคลากรสาธารณสุขอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อหรือบริโภค

          การศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาความรู้ในเรื่องฉลากโภชนาการแก่บุคลากรสาธารณสุขโดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมแก่ประชาชน อีกทั้งมีข้อเสนอแนะแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการผลักดันนโยบายเรื่องฉลากโภชนาการให้มีความชัดเจนและง่ายต่อการใช้ประโยชน์

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2541). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.fda.moph.go.th.food.htm.pro.(วันที่ค้นข้อมูล 10 กรกฎาคม 2553).

ซิกนีย์ เฮเลน. (2552). “ไขมันทรานส์น่ากลัวแค่ไหน”. Readers Digest สรรสาระ. 4(2) : 124-131.

ดวงดาว บุญชัย. (2552). การรับรู้และการใช้ฉลากโภชนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพากร มีใจเย็น และคณะ. (2545). การประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคของกองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา ปี 2545. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

นพวรรณ เปียซื่อ และคณะ. (2552). “ความรู้ทางโภชนาการ ทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล”. วารสารรามาธิบดี. 15(1) :48-59.

นิภาภรณ์ จัยวัฒน์ และคณะ. (2547). การศึกษาระดับความรู้ พฤติกรรมการเลือกซื้อ และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กองพัฒนาศักยภาพ ผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

นิภาภรณ์ จัยวัฒน์ และคณะ. (2551). การประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.fda.moph.go.th/prac/research/2551prac.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 19 กรกฎาคม 2553).

บัณฑิตา ศรีวิชัย. (2551). การรับรู้เรื่องฉลากโภชนาการและการใช้ของบุคลากรด้านสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุษรัตน์ วงศ์ศฤงคาร. (2551). การพัฒนาคู่มือการอ่านฉลากโภชนาการประเภทขนมขบเคี้ยวและเครื่องสำหรับผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน. สารนิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประภาศรี ภูวเสถียร, ประไพศรี ศิริจักรวาล, อชิรญา คำจันทร์ และ ปราณีรัตน์ แสงเกษตรชัย. (2551). โครงการปรับปรุงประกาศ เรื่อง ฉลากโภชนาการ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www..inmu.mahidol.ac.th/th/research/completed...I/.../index.php?id. (วันที่ค้นข้อมูล 16 มิถุนายน 2553).

ปนัดดา พี่งศิลป์. (2549). การใช้ฉลากโภชนาการของนักศึกษาระดับวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรรณิภา ฉัตรชาตรี. (11 เมษายน 2554). “ฉลากโภชนาการ “จีจีเอ” ความเข้าใจที่ (ไม่) ตรงกัน”. มติชน, หน้า 10.

ภัทธิรา ยิ่งเลิศรัตนกุล. (2546). การศึกษาปริมาณพลังงานในอาหารว่างและขนมขบเคี้ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วินัย ดะห์ลัน และศัลยา คงสมบูรณ์เวช. (2544). สิ่งที่ผู้บริโภคได้รับจากฉลากโภชนาการและเรื่องควรรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคในอาหาร โภชนาการและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร บทที่ 28-29. (หน้า 427-462). ฉบับแก้ไขพิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 13 สยามสแควร์.

วิสิฐ จะวะสิต และคณะ. (2545). รู้จักอาหารจากฉลากในหมอชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริกุล อำพนธ์, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, วิษณุ โรจน์เรืองไร และจุฬาลักษณ์ นิพนธ์แก้ว. (2553). การประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

สิริภัทร สิริบรรสพ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการนำความรู้เรื่องฉลากโภชนาการไปใช้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสถาบันราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :https://www.ldd.go.th/Thai-html/05022007/PDF/PDF01/005.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 12 กรกฎาคม 2553).

หัทยา กองจันทึก และพัชรี อินทรลักษณ์. (2542). บันได 10 ขั้นสู่ฉลากโภชนาการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

อรทิพย์ เทพทิตย์. (2544). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะไขมันสูงในเลือดของเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 4 ราชบุรี. รายงานการวิจัย. กระทรวงสาธารณสุข.

อัญชัน ชุณหะหิรัณย์. (2552). “รู้ทันไขมันทรานส์”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.29(4) : ตุลาคม - ธันวาคม.

Food Standards Agency. (n.d.). (2001). Nutrition labeling research report. [Online].Available from : https://www.food.gov.uk/scotland/aboutus_scotland/pressreleases/2001/. (Retrieved July 23, 2010).

Perez Escamilla R. & Haldeman L. (2002). “Food label use modifies association of income with Dietary Quality”. Journal of Nutrition Education. 132 : 768-772.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-08-31