ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางจริยธรรม กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วัชรพล คงมนต์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบพฤติกรรมทางจริยธรรม ของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย 2) องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยและ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางจริยธรรม กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารองค์กรภาครัฐ ในเขตภาคตะวันออก 8 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ระดับหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้าฝ่ายระดับจังหวัด จำนวน 249 คน เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำมาพัฒนาแบบสอบถามทั้งสองชุดได้แก่ พฤติกรรมทางจริยธรรม ของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรภาครัฐโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมทางจริยธรรม กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กรภาครัฐ พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย

          ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ การมีหลักธรรมและจิตสำนึกที่ดีงาม การไม่บิดเบือนข้อมูลและไม่ใช้ตำแหน่งหาผลประโยชน์การแสดงความรับผิดชอบเมื่อบริหารงานผิดพลาด การพบปะและช่วยเหลือประชาชนสม่ำเสมอ และการวางตัวให้เหมาะสม ส่วนภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรภาครัฐ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การกระตุ้นทางปัญญา การสร้างบารมี การสร้างแรงบันดาลใจ และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางจริยธรรม กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร องค์กรภาครัฐ พื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ได้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบพฤติกรรมทางจริยธรรม โดยเรียงตามค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (Regression Weight Coefficiency) และน้ำหนักขององค์ประกอบได้ค่าดังนี้ พฤติกรรมทางจริยธรรมมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย เท่ากับ 0.74 และการวิเคราะห์องค์ประกอบย่อยพบค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย ดังนี้ การมีหลักธรรมและจิตสำนึกที่ดีงามเท่ากับ 0.77 การพบปะและช่วยเหลือประชาชนสม่ำเสมอ เท่ากับ 0.57การวางตัวให้เหมาะสมเท่ากับ 0.54 การไม่บิดเบือนข้อมูลและไม่ใช้ตำแหน่งหาผลประโยชน์ เท่ากับ 0.32 และการแสดงความรับผิดชอบเมื่อบริหารงานผิดพลาด เท่ากับ 0.30

          ผู้วิจัยได้เสนอให้กำหนดตัวชี้วัดในองค์กรภาครัฐ โดยให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กรภาครัฐ เนื่องจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีลักษณะที่เหมาะสมกับองค์กรราชการในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง และควรพัฒนาข้าราชการไทยให้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยใช้การฝึกอบรมทางจริยธรรม การกำหนดรูปแบบในการฝึกอบรมควรมุ่งเน้นการบริหารจัดการเชิงคุณธรรม จริยธรรม เนื่องจากคุณธรรมจริยธรรมเป็นตัวกำหนดที่สำคัญของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

References

คำนึง ผุดผ่อง.(2547). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร กับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา

จรวยพร ธรณินทร์. (2554). 7 แนวทางการสร้างและพัฒนาวินัยข้าราชการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

จุรี วิจิตรวาทการ. (2554). ดรรชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจำปี พ.ศ. 2554. วันที่ค้นข้อมูล 1 มีนาคม 2555 เข้าถึงได้จาก https://www.transparency-thailand.org/

ชวลิต สงวนพันธ์.(2550). ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การ ในภาครัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญ สีหาราช. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติงานและคุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนเศรษฐ์ จำปางาม. (2548). ศึกษาการพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมของผู้บริหาร : ศึกษากรณีวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธวัชชัย หอมยามเย็น. (2548). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตย์ สัมมาพันธ์.(2546). ภาวะผู้นำ : พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

บุปผา บุญน้อม. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารตามการรับรู้ของครู กับคุณธรรมจริยธรรมของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ปราโมทย์ โชติมงคล. (2543). บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยสันติวิธี. กรุงเทพฯ : สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา.

ปาริชาดสุวรรณบุบผา. (2553). คู่มือการจัดกระบวนการสานเสวนา. นครปฐม : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไพศาล แสนยศบุญเรือง. (2549). ได้ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับความเป็นมือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยุพา ทองช่วง. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2544). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational-Leadership). วารสารการบริหารคน, 23(2), 98-102.

วิจิตรา สิงห์อาภรณ์. (2547). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับผลสำเร็จในการดำเนินงานของหอผู้ป่วย. สารนิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2549). ปรัชญาการเป็นข้าราชการ มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการ. เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สุภาวดี จิตติรัตนกุล. (2550). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนายกเทศมนตรี กรณีศึกษา : เทศบาลเมืองพังงา อำเภอเมือง จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุมาลี ขุนจันดี. (2541). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเสริมสร้างพลังครุในโรงเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2543). เอกสารรายงานผลการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2552.ในเอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง ความสำเร็จและบทเรียนในการสร้างธรรมาภิบาลในส่วนราชการ, ณ ห้องประชุมสุขุมนัยประดิษฐ์. นนทบุรี : สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2554). เอกสารการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมของระบบราชการ. ณ ห้องประชุมก.พ.ร. ชั้น 5 : สถาบันพัฒนาระบบราชการ.

อดิศร ประสงค์พร. (2544). บทบาทและความสำคัญของผู้บริหารต่อการจัดการองค์กรในทัศนะของบุคลากร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อมรรัตน์ เสนาหลวง. (2551). ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน และเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จำแนกตามประสบการณ์การบริหารงาน และวุฒิการศึกษาของผู้บริหารในพื้นที่กรุงเทพมหานครเขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 1(2),12-15.

Bass, B.M.,&Avolio. B.J. (1991). Manual for the multi: Factor Leadership questionnaire. Palo Alto, CA : Counseling Psychologist Press.

Bass & Paul S.M. (1999). Ethics, character, and authentic transformational leadership behavior. USA: A Binghamton University, Binghamton, NY

Carole MacPhee. (2006). The Effects of Transformational Leadership on Career Management. A Thesis In The John Molson School of Business Presented in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Science in Administration (MANAGEMENT) at Concordia University Montreal, Quebec, Canada

Christopher Hey. (2010). Twilight of the Elites : America's crisis of Meritocracy. Crown publisher,New York. 227-229.

Daren E. Hancott. (2005). The relationship between transformational leadership and organizational performance in the largest public companies in Canada. Ph.D., CAPELLA UNIVERSITY.

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing to LISREL : A guide for the uninitiated. London : SAGE.

Edward Aronson. (2003). Ethics and Leaders Integrity in the Health Sector. A Dissertation. USA : Mc Gill University Montreal.

Ken Udas. (1996). Lewin's Conflict in Marriage Revisited and Expanded : Implications for Interprofessional Social Service Collaboratives. System Practice, 10(5), 721.

Linda S. Kimberling. (2008). Ethical Reasoning and Transformational Leadership: An investigation of public sector leaders. USA: The Capella University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-12-31