ผลของสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ ภายหลังการออกกำลังกายแบบชี่กง

ผู้แต่ง

  • นงนุช พลบูรณ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ปี 2553 ประเทศไทยเริ่มมีจำนวนประชากรของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11.36 จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งวัยสูงอายุจัดเป็นวัยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต ลักษณะและพัฒนาการในวัยนี้ จะตรงข้ามกับวัยเด็ก คือหน้าที่การทำงานของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ มีประสิทธิภาพลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระบบต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้ รูปร่างจะมีการเปลี่ยนแปลงไปคือ หลังโก่งงอ หัวเข่าและสะโพกงอเล็กน้อย ทำให้สัดส่วนของร่างกายลดลง จมูกกว้างขึ้น หูยาวขึ้น ไหล่แคบลง ทรวงอกมีความลึกเพิ่มมากขึ้น กระดูกเชิงกรานกว้างขึ้น ความลึกของช่องท้องเพิ่มขึ้น และมีน้ำหนักตัวลดลงส่งผลให้สมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตลดลงด้วย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบชี่กง ซึ่งศึกษาในผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 60-75 ปี ซึ่งวัดค่า Berg balance scale, Chair sit and reach test, Arm curl test, Six minute walk test และ Quality of life ออกกำลังกายแบบชี่กงอย่างต่อเนื่อง 30 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ผลการศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ย Berg balance scale, Chair sit and reach test, Arm curl test, Six minute walk test และ Quality of life มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)  และ Back scratch test ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) สรุปผลการศึกษา การออกกำลังกายแบบชี่กงช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกายในภาพรวมและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุได้

References

กองวางผนทรัพยากรณ์มนุษย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2538). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย 2533-2563. กรุงเทพมหานคร.

กานต์ หงส์เพช็ร และณัฐ ฉัตรศิขรินทร. (2553). การเปรียบเทียบการออกกำลังกายแบบชี่กงและโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยแรงต้านมีผลต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุ 60 - 75 ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาสาสตร์บัณฑิต. สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยคริสเตียนข้อมูลจากกรม.

พีรพงศ์ บุญศิริ. (2538). สรีรวิทยาของการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส. พริ้น ติ้งเฮาส์.

สมนึก กุลสถิตพร. (2549). กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ. คณะสหเวชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ออฟเซ็ท เพรส จำกัด.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2544). คู่มือการส่งเสริมสุขภาพที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด.

อภิวันท์ มนิมมากร ณัฐเศรษฐ มนิมมากร อรทัย ต้นกำเนิดไทย และศศิธง แสงพงศานนท์. (2544). “ผลการออกกำลังกายโดยใช้ท่ารำประกอบเพลงพื้นเมืองอีสานประยุกต์ต่ออัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด และ ความพึงพอใจในผู้สูงอายุ”. วารสารมหาวิทยาลัยของแก่น. (6)1, 84-91.

Kart, C. S. Metress, E. K., Mestress, S. P. (1992). Human aging and chronic disease. Boston : Jones and Bartett.

Li, F. Fisher., Harmer, P. (2004). Tai Chi: improving functional balance and predicting subsequent falls in older adults. Medicine & Science in Sports & Exercise. 36:2046-52.

Linton, A. O. (1997). Gerontology nursing : Concept and practice. (2nd ed). Philadephia : W.B.Saunders.

Mau-Roung, L., Hei-Fen, H., Yi-Wei, W., Shu-Hui, C., Steven, L. W. (2006). Community-based tai chi and its effect on injurious falls, balance, gait, and fear of falling in olderpeople. Physical therapy. 86 (9):1189-201.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-12-31