แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง

ผู้แต่ง

  • สุรางค์ วิมลธาดา มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง มักมี ภาวะแทรกซ้อนที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนมีความรับผิดชอบที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ โดยให้การดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนามาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่เป็นเลิศ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย บทความนี้ต้องการนำเสนอผลที่ได้จากการศึกษาวิทยานิพนธ์ที่ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบกระบวนการใช้ผลงานวิจัยของไอโอวา (The IOWA Model of Evidence based practice to promote of quality of care; Titler et.  al., 2001:497 - 509) ร่วมกับหลักการวิเคราะห์ข้อมูลตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพของหลักฐานของ เมนิคย์และไฟเอาท์-โอเวอร์ฮอลท์ (Melnyk & Fineout-Overholt, 2005) ผลการสืบค้นและคัดสรรผลงานวิจัยสามารถนำมาใช้สร้างเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลได้ 21 เรื่อง ซึ่งตีพิมพ์ระหว่าง ค.ศ.1995 - 2011 ผู้ทำการศึกษาสามารถนำมาใช้เรียบเรียงแนวปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย 3 ชุดปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ 1) การสอนสุขศึกษาและการให้คำปรึกษา 2) การดูแลแผลช่องทางออกของสายล้างไต และ 3) การดูแลที่บ้าน แนวปฏิบัติดังกล่าวได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนตามเกณฑ์การประเมินเครื่องมืออะกรี (AGREE Collaboration, 2001) ผลการประเมินคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 81.73 อีกทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดลงฉันทามติให้สามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้ได้ ผู้วิจัยจึงนำไปทดลองใช้ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ จำนวน 5 ราย ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 พบว่า มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จริงในบริบทการให้บริการ อีกทั้งทำให้ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นภายหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล

                ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปใช้อย่างเป็นระบบ โดยสนับสนุนให้ผู้ดูแลและครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย

References

กนกวรรณ พูนพานิชย์. (2549). ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาแบบประคับประคอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียง ตั้งสง่า. (2551). การจัดตั้งหน่วยบริการการล้างไตทางช่องท้อง ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง และคณะ (บรรณาธิการ), Textbook of Peritoneal Dialysis. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.หน้า 62 - 75.

เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. (2551). ข้อมูลการรักษาทดแทนไตด้วย CAPD ในประเทศไทย ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง และคณะ (บรรณาธิการ), Textbook of Peritoneal Dialysis. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด. หน้า 45 - 61.

ชูชัย ศรชำนิ. (2551). การพัฒนานโยบายการดูแลโรคไตระยะสุดท้ายและการบริหารค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการโรคเพื่อดูแลโรคไตเรื้อรังและรักษาทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง และคณะ (บรรณาธิการ), Textbook of Peritoneal Dialysis. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด. หน้า 26 - 44.

นุชจรีย์ รัตนประภาศิริ. (2539). ผลของการสอนแบบอภิปรายกลุ่มต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปานจิตต์ เอี่ยมสำอาง. (2546). ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2549). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ : หลักการและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : พรี-วัน.

รุ่งทิพย์ สีนวลแล.(2546). การติดตามการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้องชนิดถาวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิมลรัตน์ ผลงาม. (2549). ผลของการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนด้านอารมณ์ต่อการปรับตัวทางจิตสังคมของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศากุล ช่างไม้. (2549). การประเมินแนวปฏิบัติเพื่อใช้ในการวิจัยและประเมินผล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 12(1) : 15-19.

สุนันทา ครองยุทธ. (2547). ผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมชาย เอี่ยมอ่อง และคณะ. (2551). Textbook of Peritoneal Dialysis. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แท็กซ์ แอนด์ จอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2554). คู่มือบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2554 : บทที่ 2 การจัดบริการล้างไตผ่านช่องท้องอย่างต่อเนื่อง.

Anderson, J.E. (1997). Ten years' experience with CAPD in a nursing home setting. Peritoneal Dialysis International, 17 : 255-261.

AGREE Collaboration. (2001). Appraisal of Guideline for Research & Evaluation (AGREEInstrument). www.agreecollaboration.org.

Bender, F., Bernardini, J. & Piraino, B. (2000). Prevention of infection complication in peritoneal dialysis : best demonstration practice. Kidney International, 70 : S44 - 54.

Bernardini, J., Price, V., & Figueiredo, A. (2006). ISPD GUIDELINES/recommendations Peritoneal dialysis patient tranining. Peritoneal Dialysis International, 26: 625-632.

Craig, J.V. & Smyth, R.L. (2002). The evidence-base practice manual for nurse. London : Churchill Livingstone.

Cook, S. (1995). Psychology and education support for CAPD patients. British Journal of Nursing, 4(14) : 809-810, 827-828.

Kailash, K. & Jindal, D.J.H. (1994). Excellent technique survival on home peritoneal dialysis : Result of regional program. Peritoneal Dialysis International, 14 : 324-326.

Luzar, M.A. (1990). Exit-site care and exit-site infection in continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) : Results of a randomized multi-center trial. Peritoneal Dialysis International, 10 : 25-29.

Melnyk, B.M. & Fineout - Overholt, E. (2005). Evidence - based practice in nursing and healthcare : A guide to best practice. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins. Page 31-32.

Naylor, M.& Roe, B. (1997). A study of the efficacy of dressing in preventing infection of continuous ambulatory peritoneal catheter exit sites. Journal of Nursing, 6:17-24.

Nephrology Dialysis Transplantation. (2005). Three Peritoneal accesses. Nephrology Dialysis Transplantation, 20 (Supplement 9) : ix8-ix9.

NKF-DQRI Clinical Practice Guideline for Peritoneal Dialysis Adequacy. Guideline 1 and 2. (2006). American Journal Kidney Disease, 37 (Supplement 1): S68-71.

Piraino, B., Bernardini, J. & Bender, F.H. (2008). An analysis of methods to prevent peritoneal dialysis catheter infection. Peritoneal Dialysis International, 28: 437-443.

Polit, D.F., Beck, C.T.& Hungler, B.F. (2001). Essentials in nursing research. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Sackett, D.L., Rosenberg, W.M.C., Gray, J., Hayne, R.B. & Richardson, W.S. (1997). Evidence based medicine: What is it and what it isn't. British Medical Journal, 312 : 71-72.

The Joanna Briggs Institute. (2004). Clinical Effectiveness of different approaches to peritoneal dialysis catheter Exit- site care. Best Practice : Evidence Based Practice Information Sheets for Health Professionals. 8(1) : 1-7.

The National Guideline Clearinghouse. (2006). https://www.guideline.gov, the Agency for Health Care Research and Quality.

Titler, M. G., et.al. (2001). The Iowa Model of evidence - based practice to promote quality care. Critical Care Nursing Clinics of North America, 13 : 497-509.

Twardowski, Z.J & Prowant, B.F. (1996). Classification of normal and disease exit site. Peritoneal Dialysis International, 16(3) : S32-50.

Wang, T., et al. (2002). Peritoneal dialysis in the nursing home. International Urology and Nephrology, 34 : 405-408.

Wong K.F.Y., Chow S.K.Y., Chan T.M.F. (2010). Evaluation of a nurse-led disease management program for chronic kidney disease: A randomized controlled trial. International Journal of Nursing Studies, 47 : 268-278.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-12-31