ชีวิตและการทำพันธกิจของคริสตจักรคลองเตย สังกัดคริสตจักรภาคที่ 7 สภาคริสตจักรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วารุนาฎ เชื้อหน่าย มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา (descriptive research)มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยถึงชีวิตและการทำพันธกิจของคริสตจักรคลองเตย (สุขุมวิท 93) ซึ่งเป็นคริสตจักรท้องถิ่นขนาดกลาง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดคริสตจักรภาคที่ 7 แห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตามหลักการของพระคัมภีร์และคริสตศาสนศาสตร์ กลุ่มประชากรคือ สมาชิกคริสตจักรคลองเตย (สุขุมวิท 93) จำนวน 52 คน ประกอบด้วย กลุ่มธรรมกิจคริสตจักรกลุ่มสตรี กลุ่มบุรุษ กลุ่มเปี่ยมสัมพันธ์ กลุ่มอนุชน และกลุ่มผู้ที่ไม่ค่อยมีโอกาสมาร่วมในคริสตจักร รวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนเอกสาร การใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์

           ผลการวิจัยพบว่า คริสตจักรคลองเตย (สุขุมวิท 93) เป็นชุมชนของผู้ที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ ซึ่งมีคุณลักษณะสอดคล้องกับคุณลักษณะคริสตจักรตามหลักคำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์ และหลักคริสตศาสนศาสตร์ และดำเนินพันธกิจหลักของคริสตจักรทั้ง 5 ประการ คือ การสามัคคีธรรมในชุมชนคริสตจักร การสร้างสาวก การนมัสการพระเจ้าการประกาศข่าวดีของพระเยซูคริสต์แก่ผู้ที่ยังไม่เชื่อพระเจ้า และการรับใช้ผู้คนในสังคมในรูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม คริสตจักรควรเน้นการวางรากฐานชีวิตของสมาชิกด้วยพระวจนะ และเน้นพันธกิจการบ่มเพาะ ฟูมฟักความเชื่อศรัทธาของสมาชิก เพราะทั้งสองประเด็นเป็นการเสริมสร้างพลังในการขับเคลื่อนชีวิตและการทำพันธกิจด้านอื่นๆให้เข้มแข็งขึ้นหรืออ่อนแอลง นอกจากนั้นการวิจัยยังพบว่า ความเข้มแข็งและอ่อนแอของชีวิตคริสต์ชนและการทำพันธกิจคริสตจักร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการทำพันธกิจทั้งในคริสตจักรและในชุมชนสังคม รวมถึงการช่วยให้สมาชิกค้นพบและการพัฒนาศักยภาพที่มีในชีวิตสมาชิกแต่ละคน จะสามารถช่วยเสริมหนุนสมาชิกในการทำพันธกิจรับใช้ตามของประทานและความสามารถของแต่ละคน คริสตจักรคลองเตยต้องมีกระบวนการเสริมสร้างชีวิตคริสต์ชนที่เข้มแข็ง และเป็นกระบวนเสริมสร้างอย่างครอบคลุมในกลุ่มสมาชิกต่างๆ เพื่อที่เกิดการขับเคลื่อนอย่างเข้มแข็งมีพลัง ต่อเนื่อง และเกิดผล

References

ริค วอร์เรน. (2006). คริสตจักรที่เคลื่อนไปด้วยวัตถุประสงค์. กรุงเทพฯ: สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร (ซีอีดี).

สมาคมพระคริสตธรรมไทย. (1998). พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับปี 1971. กรุงเทพฯ : สมาคมพระคริสตธรรมไทย.

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์. (2006). บริหารคริสตจักร. กรุงเทพฯ : สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร (ซีอีดี).

Banks, Robert J. (1994). Paul's idea of community. Rev. ed. Peabody, MA : Hendrickson Publishers.

Erickson, Millard J. (1998). Christian theology. 2nd edition. Grand Rapids, MI : Baker Book House.

Grenz, Stanley J. (2000). Theology for the community of god. Grand Rapids, MI: Eerdmans.

Luther, Martin. (1959). Luther's works. Vol. 36. American ed., ed Helmut T. Lehmann. Philadelphia : Muhlenberg Press.

Martin, Ralph P. (1980). The family and the fellowship: New testament images of the church. Grand Rapids, MI : Eerdmans.

Van Engen, Charles. (1991). God's missionary people : Rethinking the purpose of the local church. Grand Rapids, MI: Baker Book House.

Willard, Dallas. (2002). Renovation of the heart : Putting on the character of christ. Colorado Spring : NavPress.

Wright, David F. (1988). “Priesthood of all believers,” in New dictionary of theology, Ferguson and Wright, eds. Downers Grove, IL: InterVarsity Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-30