ความคิดเห็นต่อการประยุกต์การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • นิตยา กออิสรานุภาพ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

บทคัดย่อ

          การศึกษา ความคิดเห็นต่อการประยุกต์การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่ 27 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม ที่เรียนวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการประยุกต์การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก และแบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ต่อการประยุกต์การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 0.96 ตามลำดับ  ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ในช่วงเดือนกันยายน 2554 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 3.83, S.D. = 0.51)  ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.89, S.D. = 0.47) พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้รายด้านอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับค่าคะแนนจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านเจตคติ (x̄ = 3.98, S.D. = 0.49) ด้านทักษะการทำงานกลุ่ม (x̄ = 3.90, S.D. = 0.52) ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง (x̄ = 3.85, S.D. = 0.54) และด้านทักษะการแก้ปัญหา (x̄ = 3.82, S.D. = 0.59)

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2548). การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐาน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉันทนา เวชโอสถศักดา. (2538). ปัญหาการใช้แหล่งสารสนเทศและความสามารถในการคนหาสารสนเทศของนักศึกษาแพทย์หลักสูตรแบบดั้งเดิมและหลักสูตรแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก. ปริญยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บรรณารักษ์ศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลิมชัย กลับดี. (2552). การศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีกับการศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2554 จาก https://gotoknow.org/blog/chalermklu/159193?class=yuimenuitemlabe

ณัฐภาส ถาวรวงษ์. (2551). การประเมินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ของรายวิชาพรีคลินิค หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทนทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิสากร วิบูลชัย, พรศรี โบราณมูล, จิรวรรณ ชัยวิศิษฎ์, สุวคนธ์ กุรัตน์และสุทิศ วรศิริ. (2548). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก วิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1. วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

บุญใจ ศรีสถิตรากูร. (2550). พิมพ์ครั้งที่ 4. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2544). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธนาเพรส แอนด์ กราฟิก จำกัด.

เพ็ญศรี พิลาสันต์. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL. วารสารวิชาการ. 5(2),11-17.

รังสรรค์ ทองสุกนอก. (2547). ชุดการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ เรื่องทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและเทคนิคการสอน. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วันดี ต่อเพ็ง. (2553). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัลลี สัตยาศัย. (2547). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : บริษัท บุ๊คเน็ท จำกัด.

วิชนีย์ ทศศะ. (2547). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักและแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ นครปฐม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมพันธ์ หิญชีระนันทน์ และกรองได อุณหสูต. (2540). การประเมินผลการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาพยาบาล. 46(4) : 214-223

อาภรณ์ แสงรัศมี. (2543). ผลการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความพึงพอใจต่อการเรียน การสอนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Forgarty, R. 1997. Problem-Based Learning and Other CurriCulum Models for the Multiple Intelligences Classroom. USA. Sylight.

Johnson, S.M., Finucane, P.M. & Prideaux, D.J. (1999). Problem-Base Learning : Process and Practice. Aust NZ J Med. 29 : 350-354

Pedersen, S. 2000. Cognitive Modeling During Problem-Based Learning : The Effects of A Hypermedia Expert Tool. Unpublish doctoral Dissertation, university of Texas at Austin, TX.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-30