โภชนาการสำหรับผู้สูงวัย

ผู้แต่ง

  • นภเกตน์ สายสมบัติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากการพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่ทันสมัย ทำให้ประชากรไทยมีอายุขัยเฉลี่ยมากขึ้น ดังนั้นการโภชนาการที่ดีสามารถช่วยป้องกัน ลดความรุนแรงของโรค ป้องกันและบรรเทาภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ วัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และชีวภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในทิศทางที่ลดลง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคม การขาดผู้ดูแลจัดหาอาหารให้ และนิสัยบริโภคที่ไม่ถูกต้อง จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาทางโภชนาการ โดยทั่วไปผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานจากอาหารลดลง เนื่องจากกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย และกิจกรรมที่ใช้พลังงานต่างๆ ลดลง  การเลือกบริโภคสารอาหารหลัก และแร่ธาตุ ในปริมาณเหมาะสม มีผลต่อการบรรเทา และป้องกันโรคเรื้อรัง ที่ไม่ติดต่อต่างๆ ในผู้สูงอายุได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกระดูกพรุนเป็นต้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ประกอบกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อ และข้อต่างๆ มีความแข็งแรง และทนทาน และยังเป็นการช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูก และลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดภาวะโภชนาการที่ดีในผู้สูงอายุต่อไป

References

กันยารัตน์ อุบลวรรณ และรุจิระชัย เมืองแก้ว. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับการรู้คิดของผู้สูงอายุในจังหวัดพื้นที่บริการสาธารณสุขเขต 2. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ ผู้สูงอายุ, 7(2), 2-11.

ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ และอุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์.โภชนาการกับสุขภาพของผู้สูงอายุ. (2540). วารสารส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม. 20(2) : 257-265.

จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก. (2550). ผู้สูงอายุนั้นสำคัญไฉน. สมุนไพรวัยทอง. กรุงเทพมหานครฯ บริษัท เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ปจำกัด.

บรรลุ ศิริพานิช. (2549). คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

พวงชมพู หงส์ชัย. (2549). โภชนศาสตร์ครอบครัว. อยุธยา : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

มณี อาภานันทิกุล. (2550). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 13(3) : 242-257.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานครฯ บริษัท ทีคิวพี จำกัด.

รุจิรา สัมมะสุต. (2539). อาหารเพื่อสุขภาพ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

รุจิรา สัมมะสุต. (2555). โภชนาการผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555, จาก https://www.elderthai.com/index.php/food-elder-menu/73-food-for-elder.

รุจิรา สัมมะสุต. (2543). โภชนาการผู้สูงอายุ. นิตยสารใกล้หมอ. 24(6) : 31-35.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2543). การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม.

วีนัส ลีฬหกุล. (2555). โภชนาการกับผู้สูงอายุ. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555, จาก https://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/FN/COE_gerontological/Article/.

สมทรง จิระวรานันท์. (2547). โภชนาการกับการจัดการอาการ. วิทยาสารพยาบาล. 29(1) : 98-103.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). เตรียมตัวให้พร้อมไว้...ในวัยผู้สูงอายุ (ตอนที่1). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555, จาก. https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/poll_elderly-1.jsp.

สุรางค์รัตน์ คุณกิตติ. (2541). โภชนาการเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล. 47(4) : 269-273.

อบเชย วงศ์ทอง. (2546). โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. โภชนศาสตร์ครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อำนวยพร ชมชาญ. (2546). การบวนการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยชรา. โภชนศาสตร์เบื้องต้น. ปทุมธานี : ภาควิชาอาหารและโภชนาการ คณะคหกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-08-31