การพัฒนาบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงของมหาบัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้แต่ง

  • ศากุล ช่างไม้ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน จัดการเรียนการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Nursing Science Program) สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูงตั้งแต่ปีการศึกษา 2544  ปัจจุบันมีมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาและสามารถสอบวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลอายุรศาสตรศัลยศาสตร์ ได้คิดเป็นร้อยละ 64.70 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงของมหาบัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง มหาวิทยาลัยคริสเตียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผูใหญ่ขั้นสูง มหาวิทยาลัยคริสเตียน และเป็นผู้พยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่สอบขึ้นทะเบียนของสภาการพยาบาล จำนวน 11 คน และหัวหน้าหน่วยงานที่มหาบัณฑิตสังกัด จำนวน 7 คนโดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ.2555 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2556

          ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่าการพัฒนาบทบาทของตนเองเพื่อเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงนั้น มีเส้นทางที่สำคัญ 3 ช่วง คือ 1) ช่วงเริ่มต้น ประกอบด้วย ความต้องการพัฒนาตนเอง ความเข้าใจเนื้อหาวิชาและความรู้ทางการพยาบาลจากการเรียนในหลักสูตรเพื่อประยุกต์ในการทำงาน และความมั่นใจในความรู้ที่มีเพื่อการพัฒนาบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 2) ช่วงดำเนินการ ประกอบด้วยการมีประชากรกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดบทบาทตนเองในหน่วยงาน และลงมือปฏิบัติงานตามบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง  และ 3) ช่วงการติดตามประเมินผลงานตนเอง เป็นการติดตามงานและวัดผลลัพธ์จากการทำงาน

          จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลควรสนับสนุนและตั้งเป้าหมายร่วมกับพยาบาลในสังกัดของหน่วยงานเป็นลักษณะรายบุคคล (Individual) เพื่อให้มุ่งพัฒนาตนเองเป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานและองค์กรตั้งแต่ต้น

References

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบิชชิ่ง.

ปรารถนา ลังการ์พินธุ์. (2551). รายงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่านจากพยาบาลทั่วไปสู่พยาบาลผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553, จาก https://nurse.payap.ac.th/main/APN.pd.

มณฑา ลิ้มทองกุล และประนอม ภู่ศรีทอง. (2549). “ความต้องการของนักศึกษาพยาบาล ขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก”. รามาธบดีพยาบาลสาร, 12 (1) : 1-8.

วิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ขั้นสูงแห่งประเทศไทย. (2556). ข้อบังคับของสภาการพยาบาลว่าด้วยการออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทางในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2556. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556, จาก https://www.apnthai.org/CAPNT/main/index.php?page_name=Firstpage.

สภาการพยาบาล. (2552). ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องขอบเขตและสมรรถนะผู้ปฏฺบัติการพยาบาลขั้นสูงสาขาต่างๆ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556, จาก www.tnc.org.

Bryant-Lukosius, D. et al. (2004). “Advanced practice nursing roles: development, implementation and evaluation.” : Journal of advanced nursing. 48(5); 519-529.

Colaizzi, P. (1978). Psychological research as the phenominologist views it. In Valle, R. & King, M. (Eds). Existential-phenomenological alternatives for psychology. New York, Oxford University Press.

Madsen, L.T. and Craig, C. (2009). “A multidisciplinary prostate cancer clinic for newly diagnosed patients : developing the role of the advanced practice nurse.” Clinical journal of oncology nursing. 13(3); 305-309.

Manee Arpanantikul, Rujires Thanooruk, and Prapis Chanpuelksa. (2006). “Self-Directed Learning Readiness, Critical Thinking Skill, and Self Esteem in Nursing Students Studying Through Problem Based Learning”. Thai Journal of Nursing, 10(1) : 59-72.

Morse,J.M. and Field, P.A. (1996). Nursing Research : The Application of Qualitative Approaches, Second edition, Chapman & Hall, London. Ndiwane, A., Miller, K.H., Bonner, A., Imperio, K., Matzo, M., McNeal, G., Amertil, N., and Feldman, Z. (2004). “Enhancing cultural competencies of advance practice nurses: health care challenges in the twenty-first century”. Journal of cultural diversity. 11(3) : 118-121.

Supaporn Daodee, Katherine Crabtreee, and Roland Vandenberghe. (2006). “Improving Critical Thinking Ability of Nursing Students Through Cooperative Learning. Thai Journal of Nursing, 10(1) : 46-58.

Suporn Wongkpratoom, et al., (2010). “Role development of advanced practice nurses in Thailand. Pacific Rim International Nursing Research. 14(2); 162-167.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-31