การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พรศักดิ์ อุ่นใจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการต่อการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารวิชาการเชิงกลยุทธ์และสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ ประชากรคือผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียน จำนวน 924 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงประกอบด้วย ผู้บริหาร 285 คน และหัวหน้าฝ่ายวิชาการ 285 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของแครซี่และมอร์แกน (Krejcie;& Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard diviation) การทดสอบค่า t (t-test) และการทดสอบค่า F (F-test)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1. ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์ สถานศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในระดับมากคือ 4.41 ได้แก่ ด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้

            2. ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

            3. ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการ สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

            4. ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ ที่ระดับการศึกษาต่างกัน (ระหว่างต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี) มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

            5. ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

            6. ผลการสัมภาษณ์ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 10 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ที่มีอายุ 50 ปีขั้นไป มีความคิดเห็นสรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมโดยการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาทำให้การบริหารงานวิชาการดีขึ้นส่งผลดีต่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การพัฒนาวิชาการ การพัฒนาครู รวมทั้งการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ นักเรียนและผู้ปกครองพึงพอใจในการมีส่วนร่วม และให้การสนับสนุนกิจกรรมทางวิชาการ ทำให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสถานศึกษาแห่งการเรียนรู้

            7. จากการสนทนากลุ่มพบว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ มีองค์ประกอบการบริการงานวิชาการ 3 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนากิจกรรมตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ 2) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการส่งเสริมการบริหารงานวิชาการระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3) การวัดผลแบบดุลภาพ การบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดศรีสะเกษ การนำไปใช้ให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขภายในและเงื่อนไขภายนอกในการที่จะสนับสนุนโรงเรียนในด้านต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จนั้นจำเป็นจะต้องมีการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบติดตามนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และการปรับปรุงพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบ

            8. รูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงกลยุทธ์เป็นรูปแบบที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ซึ่งมีความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย

References

กรรนิกา เนียมชัยภูมิ. (2551). การกำกับการบริหารวิชาการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านโนนขาม. อำเภอเดชอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา). อุบลราชธานี : บัณฑิตวิทยาลัย.

จินตนา บุญบงการ และณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2548). การบริหารการจัดการกลยุทธ์.กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ยูเคชั่น.

ฉลาด นิลพงษ์. (2547). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต1.วิทยานิพนธ์ ค.ม. (บริหารการศึกษา). อุบลราชธานี : บัณฑิตวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: แอล.ที.เพรส. จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ. วิทยานิพนธ์ (บริหารการศึกษา). อุบลราชธานี : บัณฑิตวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. (2554). ทิศทางการบริหารจัดการศึกษา.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 ศรีสะเกษการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามกฎกระทรวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบการบริหารสถานศึกษาการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาต้นแบบ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการการศึกษา. (2549). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานรับรองมาตรฐานการการศึกษา.

Agthy, Robert R. (1980). The elementary principals perceptions of their own and teachers role in curriculum decision making. Dissertation abstract international, 30,(6) 3076-3077.

Allen, Thomas and Valette. (1977). Evaluation of educational programmes in nursing. World health organization, Geneva.

Faber, Charles F. and Shearron Gilbert F. (1970). Elementary school administration theory and practice. New York : Holt Rinchart and Winstion.

Good, C.V. (1973). Dictionary of education. 3rd ed. NewYork : McGraw - Hill Book.

Hersey, P. Blanchard, K.H. and Johnson, D.E. (1996). Management of organizational behavior : utilizing human resource. Upper Saddle River, NJ. : Prentice-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-31