ความสามารถในการคิดและทักษะการคิด

ผู้แต่ง

  • ปุณยนุช พิมใจใส มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ความสามารถในการคิดและทักษะการคิดมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษาในยุคปัจจุบัน  ซึ่งการเรียนรู้นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์  การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ความสามารถของผู้เรียน ระดับของแรงจูงใจ และธรรมชาติของภาระงาน  ทักษะการคิดเป็นกระบวนการให้เหตุผลที่เกี่ยวกับงานที่ทำหรือสิ่งที่เรียนรู้ ทักษะการคิด ช่วยให้ผู้เรียนรู้ว่าจะทำอะไร เมื่อไร และทำอย่างไร และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นคืออะไร  ซึ่งความสามารถในการคิดมีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ดังนั้นถ้าต้องการให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสันติสุขในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2545). การออกแบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงสังเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : บริษัทซัคเซสมีเดีย จำกัด.

จิราภรณ์ พิมใจใส. (2553). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล.” วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทรรศนัย โกวิทยากร. (2545). การสอนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรินธร วิทยะสิรินันท์. (2544). “ทักษะการคิด.” ใน วิทยาการด้านการคิด, 118-140. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทเดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์ จำกัด.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมิน ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ. (2551). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Beyer, B.K. (1997). Improving Students Thinking : A Comprehensive Approach. Boston : Allyn and Bacon Inc.

Bloom, B.S., and other. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. Handbook I : Cognitive Domain. New York : David McKay Co.

Reilly and Oerman. (1999). Clinical Teaching in Nursing Education. 2nd ed. Boston : Jones and Bartlett Publishers.

Richard C. O., and Lynn S. (undated). Bloom's Taxonomy. [online]. Available from https://ww2.odu.edu/educ/roverbau/Bloom/blooms_taxonomy.htm. (Accessed 10 September 2012).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-31