การพัฒนาเครื่องเลียดเส้นผักตบชวาด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ

ผู้แต่ง

  • ทรงวุฒิ ศรีรัตนมงคล คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

เครื่องเลียดเส้น, การรีดลำต้นพืช, เครื่องพิมพ์สามมิติ

บทคัดย่อ

          ผลิตภัณฑ์จักสานในปัจจุบันมีความหลากหลาย เช่นผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นหวาย ต้นผักตบชวา เป็นต้น การเลียดลำต้นของพืชเหล่านี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการจักสาน เครื่องเลียดเส้นเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรีดลำต้นพืชให้แบนราบ โดยมีลูกกลิ้งกดลำต้นให้แบนเรียบ ซึ่งมีใบมีดสำหรับใช้ในการกรีดลำต้นพืชให้ได้ขนาดความกว้างที่จะนำใช้ในการนำไปสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เครื่องเลียดเส้นมีทั้งรูปแบบที่ใช้มอเตอร์และแรงงานคนในการทำงาน ซึ่งสามารถนำไปใช้กับงานได้หลากหลายและมีราคาสูง การทำเครื่องเลียดเส้นให้มีขนาดที่เล็กลง และดูแลรักษาได้เอง จึงเป็นการดีต่อต้นทุนของผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน  ในกรณีต้นผักตบชวาซึ่งมีลำต้นของเส้นใยแข็งไม่มาก ดังนั้นการเลียดเส้นจึงทำได้ง่ายกว่าพืชชนิดอื่น ปัจจุบันมีการออกแบบและทำเครื่องเลียดเส้นด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งนำมาทดแทนเครื่องเลียดเส้นในรูปแบบเดิมได้และมีต้นทุนการผลิตต่ำทำให้คุ้มค่าในการใช้งาน

References

กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี..(2559). เทคโนโลยี จัดการ ‘ผักตบชวา’ ช่วยวิสาหกิจชุมชนเพื่องานจักสาน. สืบค้นจาก http://www.pr.rmutt.ac.th/news/5470

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2555). ผักตบชวาสู่การออกแบบเครื่องเรือน. ศิลปกรรมสาร. 7(1), 1-20

ดลต์ รัตนทัศนีย์. (2528). ขบวนการออกแบบทางศิลปอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ดวงมณี โกมารทัต. (2551). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่12). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ปิยวรรณ แสงฤทธิ์. (2555). การศึกษาและพัฒนารูปแบบกระเป๋าถือจากผักตบชวาสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กรณีศึกษา กระเป๋าจักสานศูนย์ศิลปาชีพบางไทร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

มณฑลี ศาสนนันทน์. (2546). การออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและวิศวกรรมย้อนรอย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย- ญี่ปุ่น).

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน(ม.ป.ป.). เครื่องจักสาน.สืบค้นจาก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=22&chap=3&page=t22-3-infodetail02.html

สมบูรณ์ โอตรวรรณะ. (2560). การนำเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารเทคโนโลยีวัสดุ. 85(2), 24-28. สืบค้นจาก https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/magazine_detaill.asp?Run_no=frcvawqfr

สุพจน์ สุทธิศักดิ์, ฐิติรันต์ เค้าภูไทย และทรงวุฒิ ศรีรัตนมงคล. (2557). แนวทางการพัฒนาผ้าทอลายทวารวดีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนในจังหวัดนครปฐม. (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สุพจน์ สุทธิศักดิ์ ทรงวุฒิ ศรีรัตนมงคล และเริงชัย แจ่มนิยม. (2558). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาโดยใช้ลวดลายทวารวดีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนในจังหวัดนครปฐม. (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์.(2554). ผักตบชวา. สืบค้นจาก http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2356

อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

AppliCAD Mi.(2015). D.I.Y. Jigs & Fixtures ลดเวลาผลิตลง 50% ด้วย Professional 3D Printer. สืบค้นจาก https://youtu.be/-cYFrq2n_Po

Anatol Locker. (2020). 2020 Best 3D Printer Slicer Software. Retrieved from https://all3dp.com/best-3d-slicer-software-3d-printer/

ARUN INDUSTRY SHOP. (2561). เครื่องรีดผักตบ ARUN [Video file] สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watchv=5rsPNcF84i8

Dibya Chakravorty.(2019). STL File Format (3D Printing) – Simply Explained. Retrieved from https://all3dp.com/what-is-stl-file-format-extension-3d-printing/

Panna. (2554). หัตถกรรมจากย่านลิเภา.สืบค้นจาก http://dewz-14.blogspot.com/2011/12/blog-post.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31