ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • รัชพร รุ่งโรจน์วิทยา มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ความสุขในการทำงานมีความสำคัญต่อทั้งตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์การ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความสุขในการทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการสร้างความสุขในการทำงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนี่งในจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 192 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการสร้างความสุขในการทำงานซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ส่วนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผู้วิจัยได้ประยุกต์มาจากแบบสอบถามของเบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล (2552) ซึ่งสร้างจากแนวคิดความสุขในการทำงานของวาร์ (Warr, 1990) มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ที่คำนวณได้ ปัจจัยการสร้างความสุขในการทำงานเท่ากับ.98 ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพเท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

          ผลการวิจัย พบว่า

          1. ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนี่งในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมค่าระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (x̄ = 3.78; S.D. ± 0.56)

          2. ปัจจัยการสร้างความสุขในการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับสูง (r = .33)

          ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพเพื่อส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพ มีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้ได้ผลการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อองค์การพยาบาล

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2543). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัด ซีเคแอนด์เอส โฟโต้สตูดิโอ.

กัลยารัตน์ อ๋องคณา. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้คุณค่าในตน สภาพแวดล้อมในงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจริญ ตันสกุล และคณะ. ปัจจัยสภาพแวดล้อมกับความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). ค้นวันที่ 30 กรกฎาคม2555 จาก https://www. smsmba.ru. ac.th/index_files/AEC/Group1.pdf

ชนิษฐ์นาฏ จุรีมาศและบุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. การพยาบาลและการศึกษา, 3(2),73 - 85.

ชลลดา พิทูรย์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของพยาบาลในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์ ศศ.ม. (พัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ชุติกาญจน์ เปาทุย. (2553). ศึกษาระดับความสุขในการทํางานของพยาบาล กรณีศึกษาพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. ปริญญาศิปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดลฤดี สุวรรณคิรี. (2550). คู่มือความสุข 8 ประกานในที่ทำงาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส).

ทัศนา บุญทอง.(2542). ปฏิรูประบบบริการพยาบาลที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : ศิริยอดการพิมพ์.

นพมาศ อุ้งพระ (ธีรเวคิน). (2551). ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาพร รักผกาและจินต์จุฑา รอดพาล. (2554). ความสุขในการทำงาน : มุมมองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 1, 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม), 175-182.

เนตรสวรรค์ จินตนาวลี. (2553). ความสุขในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสมุทรสาคร. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บงกชพร ตั้งฉัตรชัย และคณะ. (2554). ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสภาการพยาบาล, 26(4 ตุลาคม-ธันวาคม), 43-53.

เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล, เรมวล นันท์ศุภวัฒน์ และบุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2552). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิยาลัยของรัฐ. พยาบาลสาร, 36(3; ก.ค.-ก.ย.2552), 81-94.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปิยะอร ลีระเติมพงษ์. (2552). ความสุขในการทำงานของพยาบาลศัลยศาสตร์และศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์โรงพยาบาลศิริราช. การค้นคว้าแบบอิสระมหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงาน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค กับความสุขในการทำงานของพยาบาล งานพยาบาลผ่าตัด : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. การค้นคว้าแบบอิสระมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผาณิต สกุลวัฒนะ. (2537). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน. (2552). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. (2552). จำนวนพยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงาน 1 มีนาคม 2555. (อัดสำเนา).

พรรณิภา สืบสุข. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะงาน ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัทพล จิตตะวิกุลและ ศจีมาจ ณ วิเชียร. (2553). การรับรู้ความปลอดภัยในการทำงานและความสัมพันธ์กับหัวหน้างานที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 20(3 ก.ย. - ธ.ค. 2553) : 562-570.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.(2551). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. นนทบุรี : สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.

Kuhar, P.A. and others. (2004). Themeaningful retentionstrategy inventory. J Nurs Adm. 34(1) : 10-18.

Mrayyan, M.T. (2005). Nurse job satisfaction and retention : comparing public to private hospitals in Jordan. J Nurs Manage. (33) : 40-50.

Warr, P. (1987). Stress in the Workplace by all. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 จาก https://www.google.co.th/#hl=th&q=Stress_in_the_Workplace_by_all.doc

Yamane,T. (1973). Statistics : An introduction analysis. 3rd ed. New York : John Willey& son.

Yin, J.T. and Yang, K.A. (2002). Nursing turnover inTaiwan: a meta-analysisof related factors. Inter J Nurs Stud, 39, 573-575.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-03-31