ผลของการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยผ่าตัด เปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมต่อค่าใช้จ่าย จำนวนวันนอนและความพึงพอใจ ต่อบริการในโรงพยาบาลโพธาราม

ผู้แต่ง

  • ชิดชม ชินนะ พยาบาลประจำศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมและเปรียบเทียบความแตกต่างค่าใช้จ่าย จำนวนวันนอนและความพึงพอใจต่อบริการของผู้ป่วย ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี ประชากร ได้แก่ ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่รับการรักษาผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลโพธาราม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เลือกแบบเจาะจงและจับคู่ตามอายุและประเภทผู้ป่วย แยกเป็น 2 กลุ่มๆละ 15 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย มี 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ Clinical pathway และคู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ส่วนที่ 2 เป็นแบบบันทึกค่าใช้จ่าย จำนวนวันนอนผู้ป่วยและแบบวัดความพึงพอใจของผู้ป่วย ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปใช้ในผู้ป่วย 10 ราย หาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ 0. 9125   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที

          ผลการวิจัยพบว่าค่าใช้จ่ายและจำนวนวันนอนในสองกลุ่มไม่แตกต่างกันในระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05            

          ความพึงพอใจต่อบริการของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี (x̄ = 125.73 ,S.D. = 6.54)  สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (x̄ = 115.20 ,S.D. = 12.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

          ข้อเสนอแนะครั้งนี้ ควรศึกษาถึงความพึงพอใจของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมต่อการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมหลังจำหน่าย

References

กรรณิกา เย็นสุข (2544). ผลการใช้รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลรายกรณีต่อตวามสำนึกในความรับผิดชอบต่อวิชาชีพการพยาบาลและความพึงพอใจบริการของผู้รับบริการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา.

จงจิตร ทองเครือ. (2546). การพัฒนา รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคนิ่วไตในโรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จอม สุวรรณโณ. (2541). การจัดการผู้ป่วยเป็นราย : รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตรมหาวิทยาลัยบูรพา 6 (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 27-32.จ. (2546). การพัฒนา รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคนิ่วไตในโรงพยาบาลขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิราพร สิมากร. (2544). ผลการจัดการผู้ป่วนรายกรณีในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ ต่อค่าใช้จ่าย จำนวนวันนอนความพึงพอใจของผู้ป่วย และความสัมพันธ์ในทีมสหสาขา : กรณีศึกษาในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิราภรณ์ ศรไชย. (2543). ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ต่อการทำงานเป็นทีมของทีมสุขภาพค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ไตรภัทร. (2544). การใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร : กรณีศึกษาสมเด็จพระปิ่นเกล้า. โครงการปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุวัชรีย์ งูพิมาย. (2543). ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องหายใจต่อระยะเวลาที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ค่าใช้จ่าย และความพึงพอใจของบุคลากร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตรบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aday,L.A. and Anderson, A. (1975). Development of induces of access to medical care. Ann Arbor : Health Administration Press.

Bower, K. A. 1992. Case management by nurses. Washington: American Nurses Publishing.

Brown, M. (1992). Nursing management issues and ideals: Health care management review.Bethesda Maryland : An ASPEN.

Cook, T. H. 1998. The effectiveness of inpatient case management fact or fiction. Journal of Nursing Administraton. 28 (4) : 36-45.

Powell, S. K. (2000). Case management : A practical guide to success in managed care. 2nd ed. BethesdaMaryland : J. B. Lippincott.

Yaksic J.R. , SS DeWoody, and SS Cambell,(1996). Case Management of chronic ventilator partiens. Reduce everage length of stay and cost by half.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-03-31