การประยุกต์ใช้อนุภาคนาโนของเงินทางการแพทย์

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ จันทร์กอง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันมีการพัฒนาประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ทอง เงิน ไทเทเนียม  มาประยุกต์ใช้และก่อประโยชน์นานับประการ อนุภาคนาโนของเงิน เป็นอีกอนุภาคหนึ่งที่มีบทบาทที่นำ มาพัฒนาแพร่หลาย โดยเริ่มจากการพัฒนาในขบวนการอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม การบรรจุ หีบห่อ การทำความสะอาด เพื่อป้องกันแบคทีเรีย และ อื่นๆ รวมทั้งอนุภาคนาโนของเงินมีบทบาท ที่สำคัญในทางการแพทย์  เช่น การนำอนุภาคนาโนของเงิน ติดตามยาเพื่อการรักษา ในผู้ป่วย โรคมะเร็ง (Drug delivery), การนำพิษของนาโนเพื่อป้องกันเชื้อโรคชนิดต่างๆ และสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย, การนำมาพัฒนาช่วยอ่านผลวิเคราะห์ตรวจวินิจฉัยโรค ติดเชื้อ และโรคทางพันธุกรรมด้วยตาเปล่า เป็นต้น

          นอกจากนี้อนุภาคนาโนของเงินยังก่อโทษเช่นกัน มีการศึกษาที่รายงานถึงพิษเกี่ยวข้องกับอันตรายที่นำมาใช้ โดยต้องคำนึงถึงจำนวนปริมาณ, ขบวนการสังเคราะห์ และขนาดอนุภาค รูปร่างของนาโนที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะคุณประโยชน์ที่แอบแฝงด้วยพิษร้ายแรงต่อมนุษย์ พบว่า อนุภาคนาโนของเงินจะส่งผลทำลายการทำงานของระบบหายใจ ผิวหนัง รวมทั้งระบบ ทางเดินอาหารอีกด้วย

          ผลของกลไกการทำงานอนุภาคนาโนของเงินจะส่งผลต่อหน้าที่การทำงานของไมโตคอนเดรียภาย ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และส่งผลให้เกิดการตายของเซลล์ดังกล่าว (Apoptosis) ทำให้เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาด สอดคล้องกับการผลิตอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ Reactive oxygen species (ROS) ส่งผลให้สูญเสีย หน้าที่การทำงานภายในเซลล์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมทั้งสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมด้วย อย่างไรก็ตาม การพัฒนานาโนเทคโนโลยีด้วยอนุภาคของเงิน รวมทั้งโลหะต่างๆ ยังต้องการพัฒนาค้นคว้า อย่างต่อเนื่อง ทั้งประโยชน์-โทษที่จะได้รับ โดยวิทยาการดังกล่าวยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้ และยังขาดข้อมูลที่แน่ชัดทั้งต้องอาศัยนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีให้มากขึ้น

References

Cho EC, Au L, Zhang Q, Xia Y. (2010). The effects of size, shape, and surface functional group of gold nanostructures on their adsorption and internalization by cells. Small. 6(4) : 517-22.

Griffitt RJ, Luo J, Gao J, Bonzongo JC, Barber DS. (2008). Effects of particle composition and species on toxicity of metallic nanomaterials in aquatic organisms. Environ Toxicol Chem. 27(9) : 1972-8.

Kim JS, Yoon TJ, Yu KN, Kim BG, Park SJ, Kim HW. (2006). Toxicity and tissue distribution of magnetic nanoparticles in mice. Toxicol Sci. 89(1) : 338-47.

Limbach L.K., Wick,P., Manser P., Grass R.N., Bruinink A., Stark W.J. (2007). Exposure of engineered nanoparticles to human lung epithelial cells: inflence of chemical composition and catalytic activity on oxidative stress. Environ. Sci. Technol. 1(41) : 4158-4163.

Lok CN, Ho CM, Chen R, He QY, Yu WY, Sun H. (2006). Proteomic analysis of the mode of antibacterial action of silver nanoparticles. J Proteome Res. 5(4) : 916-24.

Sayes CM, Reed KL, Warheit DB. (2007). Assessing toxicity of fine and nanoparticles : comparing in vitro measurements to in vivo pulmonary toxicity profiles. Toxicol Sci. 97(1) : 163-80.

Silver S. (2003). Bacterial silver resistance : molecular biology and uses and misuses of silver compounds. FEMS Microbiol Rev. 27(2-3) : 341-53.

Susan W.P. Wijnhoven, Willie J.G.M. Peijnenburg, Carla A. Herberts, Werner I. Hagens, Agnes G. Oomen, Evelyn H.W. Heugens. (2009). Nano-silver a review of available data and knowledge gaps in human and environmental risk assessment. Nanotoxicology. 3(2) : 109-138.

Yang ST, Fernando KA, Liu JH, Wang J, Sun HF, Liu Y. (2008). Covalently PEGylated carbon nanotubes with stealth character in vivo. Small. 4(7) : 940-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-03-31