ความสำคัญของการบริหารความฉลาดทางอารมณ์ ของผู้สอบบัญชีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

            ในประเทศไทยมีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นจำนวนมาก แต่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ไม่เพียงพอสำหรับธุรกิจจำนวนมาก ดังนั้นกรมสรรพากรจึงมีความเห็นชอบให้มีผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ด้วยเหตุผลดังกล่าวประเทศไทยได้ออกนโยบายการตรวจสอบภาษีโดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นสำนักงานบัญชีและตรวจสอบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาการตรวจสอบบัญชีให้มีประสิทธิภาพเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยกระบวนการเหล่านี้ควรกระทำอย่างประหยัดสุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด

            สำนักงานบัญชีและตรวจสอบบัญชีนอกจากจะต้องดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ โดยอาศัยความสามารถเฉพาะตัวขององค์กรแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือของผู้สอบบัญชีซึ่งหมายรวมทั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบบัญชีภาษีอากร  ดังนั้นผู้สอบบัญชีถือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่สำคัญขององค์กรที่มีอำนาจลงนามให้ความเห็นชอบงบการเงินของธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้สร้างรายได้ให้กับองค์กร จึงเป็นเสมือนเครื่องมือที่สำคัญในการนำรายได้เข้ามาสู่องค์กร จึงควรธำรงรักษาให้ผู้สอบบัญชีมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ทั้งนี้องค์กรควรให้ความสำคัญกับสุขภาพใจที่ดีของผู้สอบบัญชีโดยให้แนวทางและแนะนำการการบริหารความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) แก่ผู้สอบบัญชี มาบริหารการทำงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานนั้น ซึ่งจำเป็นต้องรับรู้ความรู้สึกและสามารถแสดงภาวะอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง มีความสามารถในการใช้ภาวะอารมณ์ตอบสนองต่อตนเอง  ผู้ร่วมงานและลูกค้าได้เป็นอย่างดี ถือเป็นทักษะที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงาน และส่งผลให้บุคคลนั้นประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของบทความนี้มุ่งเสนอเพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการความฉลาดทางอารมณ์ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีในประเทศไทย และส่งผลทำให้บุคคลและองค์กรนั้นประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจความฉลาดทางอารมณ์ประกอบไปด้วยการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง การจัดการอารมณ์ของตนเอง การจูงใจ การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และการมีทักษะทางสังคม ล้วนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กร

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคลเดือนพฤษภาคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2557. จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2557/26_201303.pdf.

กรมสรรพากร. (2557). ผู้สอบบัญชีภาษีอากรมีสิทธิและหน้าที่อย่างไร?. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2557. จาก https://www.rd.go.th/publish/20750.0.html.

กรมสุขภาพจิต. (2552). อีคิว : ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี : สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

เกริกฤทธิ์ ต่อฤทธิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารกับความสำเร็จในการทำงานของผู้จัดการธนาคารออมสิน. วิทยานิพนธ์ กจ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จิราพรรณ์ คะษาวงค์. (2551). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานด้านบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดิลกฤทธิ์ อภิวัฒนสิงหะ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

บุรินโท ชามะรัตน์. (2548). ประสิทธิภาพของการนำนโยบายจัดระเบียบสังคมปฏิบัติในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. การศึกษาปัญหาพิเศษ รป.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรีดา เปี่ยมวารี. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะครอบครัวและสัมพันธภาพในครอบครัวกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิมลมาศ ไร่ไสว. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการจัดการเวลากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). เอกสารประกอบการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557, จาก https://www.fap.or.th/images/column_1371191354/FAP300457_2.pdf.

สมมาศ พลเยี่ยม. (2552). ผลกระทบของความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 9. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรุณี นิลสระคู. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

อัครินทร์ พาฬเสวด. (2546). “ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัท คาโออินดัสเตรียล (ประเทศไทย)”. สารนิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

Aaker, D. A., V. Kumer and G. S. Day. (2001). Marketing Research. New York : John Wiley and Sons.

Abdel-Kader, M. and R. Luther. (2008). “The Impact of Firm Characteristics on Management Accounting Practices : A UK - Based Empirical Analysis,” The British Accounting Review. 40(1) : 2 - 27.

Abernethy M. A. and Brownell P. (1999). “The role of budgets in organizations facing strategic change : an exploratory study”. Accounting, Organizations and Society. 24 : 189-204.

Armstrong, J. S. and T. S. Overton. (1977). Estimating non-response Bias in Mail Surveys.” Journal of Marketing Research. 14 : 396-402.

Bahdor G.K., Mahmoud M., Roozbeh H., and Farzad F.,Reza G. (2011). “The Impact of Emotional Intelligence towards the Effectiveness of Delegation; A Study in Banking Industry in Malaysia.” International Journal of Business and Social Science. Vol. 2 No. 18; Oct., 2011. 93-99.

Capelleras, J. and R. Rabetino. (2008). “Individual Organizational and Environmental Determinants of New Firm Employment Growth : Evidence from Latin America.” Int Entrep Manag. 4(1) : 79-99.

Churchill, G. A. J. (1979). “A Paradigm for Developing Better Measures of Marketing Constructs.” Journal of Marketing Research. 16 : 67-73 ; February.

Craswell, A, T., J. R. Francis, and S. L. Taylor. (1995). “Auditor Brand Name Reputations and Industry Specialisations”. Journal of Accounting and Economics”. 20 : 297-322.

Gibson et.,al. (1997). Organizations : Behavior, Structure, and Process. 6th ed, Plano, TX : Business Publications.

Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intellgence. New York : Bantam Books.

Helliar, C. and others. (1996). “UK Auditors' Perceptions of Inherent Risk”. British Accounting Review. 28 : 45-72.

Henry, J. Laurie and Panu Attavitkamtorn. (1999). “Governmental accounting and auditing in Thailand : an overview and some suggestions for improvement.” The International Journal of Accounting. 34(3) : 439-454.

Johnson, I I. (2002). “Know Thyself (Managers' Key to Success.” Training. 39(2) : 251.

Khosravi et.,al., (2011). “The Impact of Emotional Intelligence towards the Effectiveness of Delegation; A Study in Banking Industry in Malaysia.” International Journal of Business and Social Science. 2(18) : 93-99.

Knechel, W. R. (2007). “The Business Risk Audit : Origins, Obstacles and Opportunities.” Accounting, Organizations and Society. 32 : 383-408.

Kumar N., Rose R. C. and Subramaniam. (2008). “The bond between intelligences: cultural, emotional, and social.” Performance Improvement. 47(10) : 42-48.

Kumar, M. P. (2001). “Emotional Intelligence and Leadership Behaviour : Consequences on Organizational Outcomes.” Doctoral Dissertation. IIT Mumbai.

Malik M. E., Danish R. Q., and Munir Y. (2011). “The impact of Leader's Emotional Quotient on organizational effectiveness : Evidence from Industrial and banking sectors of Pakistan.” International Journal of Business and Social Science. 2(18) : 114-118.

Mayer, J. D. and P. Salovey. (1997). “What is Emotional Intelligence”. Emotional Development and Emotional Intellgence: Education Implication. New York : Basic Books.

Mayer, J. D., Dipaolo, Maria and Salovey, Perter. (1990). “Perceiving Affective Content in Ambiguous Visual Stimuli : Comonent of Emotional intelligence”. Journal of Personality Assessment. 54. 772-781.

Mehmet D.A., Dogan N.L., Mahmut Arslan, Mustafa Kilic and Mustafa Kemal Oktem. (2005). “The impact of IQ and EQ on pre-eminent achievement in organizations : implications for the hiring decisions of HRM specialists”. International Journal of Human Resource Management. 16:5 May 2005; 701-719.

Neter, J., W. Willizm and H. Michael Kutner. (1990). Applied linear statistical models : Regression, analysis of variance, and experimental designs. 3nd ed. Homewood : Richard D Irwin, Inc.

Nicolaou, I. Andreas. (2000). “A contingency model of perceived effectiveness in accounting information systems : organizational coordination and control effects.” International Journal of Accounting Information Systems. 1(2) ; 91-105.

Nunnally, J. C. and I. H. Bernstein. (1994). Psychometric Theory. New York : McGraw-Hill.

Nwachukwv, S. and others. (1997). “Ethics and Social Responsibility in Marketing: An Examination of the Ethical Evaluation of Advertising Strategies.” Journal of Business Research. 39 : 107-118.

Papert, S. (1980). Mindstorms : Children, computers and powerful ideas. New York, New York : Basic Books.

Salovey, P. and J. D. Mayer. (1990). Emotional Intelligence, Imagination, Cognition and Inteligence. New York : Basic Books.

Sprinkle, G.B. (2000). “The Effect of Incentive Contracts on Learning and Performance.” The Accounting Review. 75(3) : 299-326.

Weisinger, H. (1998). Emotional Intelligence at Work : The untapper edge for success. San Francisco : Jossey-Bass.

Yuvaraj S. and Srivastava Nivedita. (2007). “Are Innovative Managers Emotionally Intelligent?” Journal of Management Research. 7(3) ; 169-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-03-31