เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างทักษะและประสิทธิผล ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคแห่งศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • อภินันต์ อันทวีสิน มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และการบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งในด้านการจัดการองค์การ ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่เวทีโลกในปี 2020 ปัญหาที่พบจะเห็นว่าในด้านการพัฒนาการศึกษาทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังให้ความร่วมมือในการนำความรู้ด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย ดังนั้น แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552-2559 จึงได้กำหนดเป้าหมายและกรอบดำเนินงานเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทักษะการเรียนรู้ และการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในหลายรูปแบบ เพื่อเสริมสร้างทักษะและประสิทธิผลทางการเรียนรู้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน โดยที่สถาบันการศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดการบริหารจัดการองค์การ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างทักษะและประสิทธิผลของผู้เรียนอีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับองค์การมากยิ่งขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552-2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556, จาก https://www.sobkroo.com/detail_room_main1.php?nid=2349.

กระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556, จาก https://www.plan.ru.ac.th/strategy/data/education_evelopement_55-59.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556, จาก https://www.moe.go.th/edtechfund/fund/images/stories/laws/prb_study(final).pdf.

ชาญ กลิ่นซ้อน. (2550). การศึกษาเจตคติและพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยคริสเตียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บรรจง เขื่อนแก้ว. (2552). รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บรรจง เขื่อนแก้ว กุลธิดา ท้วมสุขและดุษฎี อายุวัฒน์. (2010). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีต่อการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10(2) : 51-55.

ผู้จัดการออนไลน์. (2549). วิพากษ์ “เทคโนโลยีอุบัติใหม่” เพื่อความก้าวหน้าหรือทำลายสังคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556, จาก https://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000115827.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.). (2549). วิพากษ์ “เทคโนโลยีอุบัติใหม่” เพื่อความก้าวหน้าหรือทำลายสังคม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556, จาก https://www.dmc.tv/index.php?module=articles&action=page&p=454.

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ปี 2555-2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556, จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/152/1.PDF.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2551). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556, จาก https://www.addkutec3.com

อัญชนา พานิช. (2550). องค์ประกอบประสิทธิผลองค์การ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Dixon, Audre. (2011). An emerging technology dilemma: A framework for a decision making model. Ph.D. Dissertation in Health Administration, University of Phoenix.

Sauer, Philips. (2010). Channeling the innovation stream : A decision framework for selecting emerging technologies. Ph.D. Dissertation in Management Program, Graduate School of the University of Maryland University College.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-03-31