สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล สังกัดโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาสหสัมพันธ์ชื่อเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลระดับกลางและระดับสูง สังกัดโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 5 แห่ง จำนวน 109 คน ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้แนวคิดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ John Adair (2010) และสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของ John Adair (2009) ประกอบด้วยชุดข้อคำถาม 7 ด้าน รวม 77 ข้อ การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามของการวิจัยชื่อเรื่องนี้ พบว่า มีค่าความสอดคล้องและความตรงกับสิ่งที่ต้องการวัด (Item Objective Congruence Index: IOC) เท่ากับ 0.80 มีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) เท่ากับ 0.91  และใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ความตรงของเนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล           

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่าสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาลเอกชน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีองค์ประกอบ 7 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 76 ปัจจัย ทั้งนี้ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของทุกองค์ประกอบของแต่ละโมเดลที่นัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน (λ) รายข้อ มีค่าระหว่าง 0.33-0.77 เมื่อจัดลำดับความสำคัญตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานจากมากที่สุดไปน้อยสุดเป็นดังนี้ (1) การคิดและวางแผนเชิงกลยุทธ์อย่างมีนวัตกรรม (λ=0.88) ประกอบด้วย 14 ปัจจัย (λ=0.51-0.74) (2) ความสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนในองค์กร (λ=0.85) ประกอบด้วย 15 ปัจจัย (λ=0.37-0.69) (3) การพัฒนาผู้นำของปัจจุบันและอนาคต (λ=0.84) ประกอบด้วย 11 ปัจจัย (λ=0.48-0.74) (4) การดำเนินงานให้สำเร็จ (λ=0.77) ประกอบด้วย 9 ปัจจัย (λ=0.33-0.68) (5) การสร้างพันธมิตร (λ=0.69) ประกอบด้วย 8 ปัจจัย (λ=0.33-0.77) (6) จิตวิญญาณการเป็นองค์การ (λ=0.64) ประกอบด้วย 6 ปัจจัย (λ =0.45-0.81) และ (7) การกำหนดทิศทาง (λ=0.59) ประกอบด้วย 9 ปัจจัย (λ=0.48-0.74)

          ข้อค้นพบใหม่จากการวิเคราะห์องค์ประกอบการวิจัยเรื่องนี้ บ่งชี้ว่าผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลระดับสูงของโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้บริหารทางการพยาบาลในสังกัดฝ่ายการพยาบาล (Top Leadership Team) โดยเฉพาะในด้านการคิดเชิงกลยุทธ์ วางแผนเชิงกลยุทธ์ รวมทั้งการคิดเชิงนวัตกรรมทั้งในการบริหารจัดการและการบริการการพยาบาลเป็นอันดับแรก รวมทั้งให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสร้างความสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนในองค์กรและภายนอกองค์กร รวมถึงการรับผิดชอบต่อชุมชนและการสร้างพันธมิตรในต่างประเทศตลอดจนสนับสนุนให้ผู้บริหารของฝ่ายการพยาบาลได้รับการพัฒนาเป็นผู้นำที่เข้มแข็งทั้งในด้านความ สามารถทางการบริหารและคุณลักษณะความเป็นผู้นำ รวมถึงระบบการพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ การสร้างวัฒนธรรมและคุณค่าร่วมเฉพาะของฝ่ายการพยาบาลให้กับทีมผู้บริหารในสังกัดฝ่ายการพยาบาลสำหรับปัจจุบันและสำหรับอนาคตด้วย

References

ฐิติภรณ์ ปานขลิบ และบุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร (2554). องค์ประกอบสมรรถนะของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐช่วงปี พ.ศ. 2550-2554. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 23 (1) : 42-53.

ทิพย์สุดา ดวงแก้ว และสุชาดา รัชชุกูล (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย การมีส่วนร่วมในงานของพยาบาลประจำการ กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเขตภาคเหนือ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 4 (1) : 41-51.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร. บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

สภาการพยาบาล (2555). แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ.2555-2559). นนทบุรี : สภาการพยาบาล-นนทบุรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2556). รายงานการสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร : สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักสถิติแห่งชาติ.

สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ, ปิญากรณ์ ชุตังกร, ชณิภาดา ชินอุดมพงศ์, ดรุณี รุจกรกานต์และ จุรีวรรณ มณีแสง (2554). การประเมินผลการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2549. วารสารสภาการพยาบาล. 26(2) : 5-25.

สุนีย์พร แคล้วปลอดทุกข์ และสุชาดา รัชชุกูล (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย การบริหารผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงานพยาบาลกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป. วารสารกองการพยาบาล. 23(2) : 15-28

โสภา อิสระณรงค์พันธ์ และบุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร (2552). การศึกษาสมรรถนะของหัวหน้าพยาบาลที่มีศักยภาพสูงโรงพยาบาลทั่วไป. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 20 (2) : 30-40.

อรอุมา วงษ์พานิชและอารีย์วรรณอ่วมตานี (2551). ภาวะผู้นำของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลในช่วงปี พ.ศ. 2551-2560. วารสารสภาการพยาบาล. 23(2) : 10-25.

Adair, J. (2009). Leadership for Innovation : How to Organize Team Creativity and Harvest Ideas. London. Kogan Page.

Adair, J. (2010). Strategic Leadership : How to Think and Plan Strategically and Provide Direction. London. Kogan Page.

Camrey, A.L., & Lee, H.B. (1992). A first Course in Factor Analysis. Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Carrol, T.L. (2005). Leadership skills and attributes of women and nurse executives. Challenges for the 21st century. Nursing Administration Quarterly. 29(2).

Davies, B. J. & Davies, B.(2004). Strategic Leadership. School Leadership & Management. 23(1) : 29-38.

Dess, G.G. & Miller, A. (1998). Strategic Management. Sigapore : McGraw-Hill.

DuBrin,A.J. (2012). Leadership : Research Findings, Practice, and Skills (7th ed.). South-Western College Pub.

Hu, L. & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis : Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1-55.

Joreskog, K.G. & Sorbom, D. (1979). Advances in factor analysis and structural equation models. Cambridge, MA : Abt Books.

Library MBESS1. (2014). from https://www.unt./rss/class/mike/5700/Statistical/20, Search date 1 April 2014.

Lynn, Mary R. (1986). Determination and quantification of content validity. Nursing Research. Vol 35(6) : 382-385. doi : 10.1097/00006199-198611000-00017

Polit, D.F. & Hungler, B.P. (1999). Nursing research: Principle and methods (6th ed.). Philadelphia, PA : J.B.Lipincott.

Rovinelli,R.J. & Hambleton,R.K. (1977). On the Use Content Specialiats in the Assessment of Criterin Reference Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research. 2 : 49-6.

Thompson, B. (2004). Exploratory and confirmatory factor analysis : Understanding concepts and applications. Washington, DC, US : American Psychological Association.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-06-30