ผู้เสียหายจากการทำให้แท้งลูกในความหมายตามพระธรรมอพยพ และกฎหมายไทย
บทคัดย่อ
มีการพบซากทารกมากกว่าสองพันศพในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2010 ในเขตกรุงเทพ ซากศพของทารกเหล่านี้มาจากการทำแท้ง แล้วนำไปห่อด้วยถุงพลาสติก และถูกทิ้งไว้ในวัดแห่งหนึ่ง จากอาชญากรรมครั้งนี้นำมาสู่คำถามเกี่ยวกับ “คุณธรรมทางกฎหมาย” ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ผู้เขียนไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผู้เสียหายในคดีทำให้แท้งลูกว่าผู้เสียหายคือผู้หญิง หรือตัวอ่อนในครรภ์ ดังนั้นในบทความนี้ ผู้เขียนจะใช้กฎหมายอาญาของไทยเพื่ออธิบายเรื่องคุณธรรมทางกฎหมายว่าด้วยการทำแท้งในพระธรรมอพยพ ผู้เขียนจะอธิบายโดยแบ่งออกเป็นสามประเด็น ประเด็นแรก ผู้เขียนจะแนะนำโดยสรุปในเนื้อหาของหนังสืออพยพ 21:22-25 และความเข้าใจเกี่ยวกับคดีทำแท้งในตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ประเด็นที่สอง ผู้เขียนจะเน้นเรื่องกฎหมายไทย และคุณธรรมทางกฎหมายเรื่องการทำแท้ง และคดีการทำร้ายร่างกาย ประเด็นที่สาม ผู้เขียนจะเสนอข้อเสนอใหม่ และสรุปเรื่องผู้เสียหายในคดีทำให้แท้งลูกในพระธรรมอพยพ 21:22-25
References
ไกรฤกษ์ เกษมสันต์. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาภาคความผิด มาตรา 288 ถึง มาตรา 366. กรุงเทพ : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ประณต บุษกรเรืองรัตน์ และเสรี หล่อกัณภัย. (2009). ไวยากรณ์ภาษาฮีบรูของพันธสัญญาเดิม. กรุงเทพ: บริษัทประชุมทองพริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด.
Bright, John. (2000). A history of israel. Louisville : WJK.
Cassuto, U. (1967). Commentary on the book of exodus. Jerusalem : Magnes Press.
Cole, Alan R. (1973). Exodus : An introduction and commentary. Leicester : IVP.
Durham, John I. (1987). Exodus. in word biblical commentary. Waco: Word Books.
Hamilton, Victor P. (1982). Handbook on the pentateuch. Grand Rapids : Baker Book House.
Harrisson, R. K. (1979). Introduction to the old testament. Grand Rapids : Wm. B. Eerdmans.
Speiser, E. A. (1963). The Stem in Hebrew. JBL 82, 536 -541.
Waltke, Bruce M. (1969). Old Testament Texts Bearing on the Issues, In birth control and the christians, edited by Walter O. Spitzer and Caryle L. Saylor, 7-23. Wheaton, III.: Tyndale House Publishers.