การจัดการความรู้ของพยาบาลในแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ระเบียบวิธีทางปรากฏการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและรูปแบบการจัดการความรู้ของพยาบาลในแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลในแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต ที่มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 3  ปี ที่ยินยอมให้ความร่วมมือเป็นผู้เข้าร่วมในการวิจัย  จำนวน 38 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การสังเกต การจดบันทึก การใช้เอกสารและข้อมูลในแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต และการใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมด้วย วิเคราะห์ข้อมูลตลอดช่วงการศึกษาด้วยการใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาของโคไลซี (Colaizzi, 2007) เพื่ออธิบายความหมายของการจัดการความรู้และรูปแบบ การจัดการความรู้ของพยาบาลในแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

          กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำแนกเป็น พยาบาลหัวหน้าตึก และพยาบาลวิชาชีพ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า พยาบาลในแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤตมีประสบการณ์ ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงการจัดการความรู้ว่า การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่ หรือความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต โดยผ่านกระบวนการ การค้นหาความรู้  การสร้างและแสวงหาความรู้  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้

          รูปแบบของการจัดการความรู้ของแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต ของโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1) การค้นหาความรู้ 2)  การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5)  การเข้าถึงความรู้ 6) การแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) การเรียนรู้

          ปัจจัยสนับสนุนการจัดการความรู้ ของแผนกการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต ของโรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ นโยบายของโรงพยาบาล โครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาล วัฒนธรรมองค์กร  ผู้บริหาร และบุคลากร  ส่วนอุปสรรคที่ขัดขวางการจัดการความรู้ ได้แก่ ภาระงานที่มากเกินไป ผู้บริหารบางคนไม่ให้ความสำคัญ และบุคลากรบางคนไม่สนใจ ไม่ให้ความร่วมมือ

References

จันทนา สุขธนารักษ์. (2550) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของพยาบาลหัวหน้าหน่วยงานโรงพยาบาลจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2551). ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการความรู้. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศ, 1(1).5

นันทรัตน์ ศรีนุ่นวิเชียร. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และประสิทธิผลของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุญดี บุญญากิจ. (2547). การจัดการความรู้.....จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จิรวัฒน์จำกัด

เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. (2554). การจัดการความรู้ในองค์การบริการพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยคริสเตียน

รจเรช งานไว. (2549). การจัดการความรู้ในองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ปี พ.ศ. 2553. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย. (2550). การจัดการความรู้ทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลศาสตร์. 25(1) 4-13.

สุปราณี ภู่ระหงษ์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ของหัวหน้าหอผู้ป่วย วัฒนธรรม องค์กรกับการจัดการความรู้ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Arthur Anderson and American Productivity & Quality Center (1996). “The Knowledge Management Assessment Tool : External Benchmarking Version. New York: : McGraw-Hill.

Calabrese, F.A. (2000). The KM Technology Pillar Focus on Supporting Business Success. London : SAGE

Colaizzi,P.F. (1978) Psychological research as the Phenomenologist view it., New York : Oxford University Press.

Davenport, T.H. and Prusak, L.(1998). “Working Knowledge” Harvard: Harvard Business School Press.

Hughes, L.P.,& Holbrook, J.A.D. (1998). Measuring Knowledge Management : A new Indicator of innovation in Enterprise, CPROST Report.

Morey, A., Maybuzy,T., & Thrashingha, R. (2001). Factors of Success, New York: McGraw-Hill

Marquardt, M.J. (1996). Building the Learning Organization. New York: McGraw-Hill

Metaxiotis, K. (2006). Healthcare Knowledge Management. London: The MIT Press.

Tiwana A.(2000). The Knowledge Management Tookit : Practical Techniques for Building Knowledge Management System. New Jersey : Printice-Hall.

Singapore Productivity and Standard Board (2001) “Primer on Knowledge Management Integrated.” Singapore : Press Pte ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-30