พฤติกรรมการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารการเงิน ส่วนบุคคลในชีวิตประจำวัน ของประชาชนในเขตตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ตอบแบบสอบถาม 3) เจตคติต่อปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนผู้ตอบแบบสอบถาม และ 4) พฤติกรรมการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารการเงินส่วนบุคคลในชีวิตประจำวันของประชาชนในเขตตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 225 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-35 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 91 คน ประกอบอาชีพรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท 2) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงถูกต้อง 3) เจตคติต่อปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนด้วยมากที่สุดคือ เรื่องการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำได้ยาก คิดเป็นร้อยละ 60.89 และประชาชนไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือ ด้านการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตจะทำให้ประชาชนในทุกระดับมีชีวิตที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 87.56 และ 4) พฤติกรรมการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารการเงินส่วนบุคคลในชีวิตประจำวันโดยรวมอยู่ในระดับมาก แยกพิจารณาเป็นด้านความพอประมาณอยู่ในระดับมาก โดยมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตภายใต้ความพอเพียง ไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ของตนเอง รองลงมาคือดำรงชีวิตตามฐานะทางการเงินที่ดำรงชีพอยู่ ด้านความมีเหตุผลอยู่ในระดับมากโดยมีความเชื่อว่าถ้าบริหารการเงินด้วยพื้นฐานของเหตุและผล จะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี รองลงมาคือมีการตัดสินใจด้านการใช้จ่ายหรือด้านเศรษฐกิจอย่างมีเหตุผลด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว อยู่ในระดับมาก โดยมีความพร้อมที่จะพัฒนาความสามารถในการบริหารการเงินของตนเอง และมีความพร้อมในการบริหารการเงินของตนเองอย่างรอบคอบด้านเงื่อนไขความรู้ อยู่ในระดับมาก โดยมีการศึกษาหาข้อมูลก่อนทำการตัดสินใจเรื่องการเงินของตนเอง รองลงมาคือสามารถนำเอาองค์ความรู้การบริหารการเงินมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และด้านเงื่อนไขคุณธรรม อยู่ในระดับมาก โดยมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง รองลงมาคือมีความเชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม
References
กานดา เต๊ะขันหมาก.(2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน : ศึกษากรณีจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เกษรา จูทอง. (2554). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันกรณีศึกษาประชาชนในตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัด นครปฐม. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปกร.
จิรายุ รัตนบวร,และอดุลยเดช ตันแก้ว. (2552). การศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี : กรณีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิต (รายงานผลการวิจัย). อุบลฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2553). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการเพิ่มความสมดุลในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ความเป็นมาและความหมาย. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์ ปีที่ 47 ฉบับที่ 1/2550.
นภาพรรณ วงศ์มณี.(2553). การนำแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน : กรณีศึกษา ชุมชนทรายทอง ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปกร.
วิทยา อธิปอนันต์. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเกษตรที่พึงพาตนเอง. กรุงเทพมหานคร : กรมส่งเสริมการเกษตร.
สุรพล พยอมแย้ม. (2545). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาญจนบุรี : ธรรมเมธี - สหายพัฒนาการพิมพ์.
สุรยุทธ์ จุลานนท์. (2549). แนวทางการบริหารประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. เอกสารการบรรยาย วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล.
อตินันท์ พรหมพันธ์ใจ. (2550). การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมชนเพื่อการจัดการทุนประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เอื้องทิพย์ เกตุกราย. (2551). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชน ตำบลคลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.