ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • วศพล วงศ์ศรีรัตน์ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐมประชากรที่ใช้ในการสำรวจคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐมในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามโดยวิธีการเก็บข้อมูลแบบบังเอิญ (Accidental sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (Standard deviation) สำหรับการบรรยายข้อมูลใช้สถิติเชิงอนุมานการทดสอบสถิติที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวทาง (One-way Anova) หากพบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้สถิติเชฟเฟ่ (Scheffe) และหาความสัมพันธ์โดยการทดสอบไคกำลังสอง (Chi-square) และ (Peason correlation)

          ผลการศึกษาสรุปได้ว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 41 - 50 ปีมีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายหรือกิจการส่วนตัวและมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,001 - 15,000 บาทผลการศึกษาสรุปพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐมพบว่านักท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวจากสื่ออินเตอร์เน็ตสาเหตุที่มาท่องเที่ยวคือต้องการพักผ่อนหย่อนใจส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์โดยใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางมาท่องเที่ยวและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาท่องเที่ยวแต่ละครั้งระหว่าง 1,001 -5,000 บาทผลการศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดนครปฐมในภาพรวมพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้วพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับได้ดังนี้คือ ด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ด้านการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาบุคลากรที่ประจำแหล่งท่องเที่ยวและด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ตามลำดับ

References

กองวางแผนโครงการ. (2540). ทำเนียบแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิภา วัฒนพงศ์ชาติ. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน จังหวัดเพชรบุรี. รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิไลลักษณ์ ชมภูศรี. (2544). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรัญยา วรากุลวิทย์. (2546). ปฐมนิเทศอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

สยามล ชัยรัตนอุดมกุล. (2544). ความรู้และความเข้าใจในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-30