ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์สาธารณะทางบกกับประสิทธิผลการให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์สาธารณะทางบกกับประสิทธิผลการให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์สาธารณะทางบกในเขตกรุงเทพมหานครคือ ผู้ขับรถตู้ รถร่วมบริการ รถขนส่งมวลชนกรุงเทพ รถเล็กในซอย และรถมินิบัส ข้อค้นพบที่สำคัญจากการวิจัยมีดังนี้ (1) คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์สาธารณะทางบกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการให้บริการ r=0.653, p-value=0.001 ระดับนัยสำคัญ 0.01 ได้สมการการถดถอย คือ ประสิทธิผลการให้บริการ = 1.080 + 0.693 (คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์สาธารณะทางบก) ได้สมการการถดถอยพหุเชิงเส้นคือ ประสิทธิผลการให้บริการ = 0.662 + 0.950 (ความสัมพันธ์กับสังคมและชุมชน) + 0.363 (โอกาสพัฒนาความสามารถ) + 0.240 (ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและพอเพียง) (2) คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์สาธารณะทางบกโดยรวมมีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานปานกลาง (M=3.051,SD.=0.701) เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นรายด้าน พบว่าอันดับ 1 คือมีความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน (M=3.200,SD.=0.717) และอันดับสุดท้ายคือ มีค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและพอเพียง (M=2.788,SD.=0.803) และ (3) ประสิทธิภาพการให้บริการของผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์สาธารณะทางบกโดยรวมมีระดับประสิทธิภาพการให้บริการปานกลาง (M=3.193,SD.=0.743) เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการให้บริการเป็นรายด้าน พบว่าอันดับ 1 คือมีการจัดส่งผู้โดยสารไปยังสถานที่ที่ถูกต้อง (M=3.380,SD.=0.838) และอันดับสุดท้ายคือ มีการจัดส่งผู้โดยสารที่ตรงต่อเวลา (M=3.045,SD.=0.870)

References

กรมการขนส่งทางบก. (2557). นโยบายที่จะแก้ปัญหารถบริการสาธารณะ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557, จาก https://www.mcot.net.

การเสวนาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557. จาก https://voicelabour.org.

คนขับและกระเป๋ารถเมล์ด่าผู้โดยสารไล่ลงจากรถ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557, จากwww.news.mthai.com.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2557). มิติใหม่ของการเสริมสร้างองค์กรสุขภาวะ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับบุคลากรโลจิสติกส์ทางบกพนักงานขับรถ. สำนักสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557. จาก https://www.thaihealth.or.th.

จันจิรา ไกรพิมาย. (2552). อุบัติเหตุที่พบบ่อยจากการขนส่งสินค้าทางถนนสาเหตุของอุบัติเหตุ วิธีลด และป้องกันอุบัติเหตุ. กรุงเทพมหานคร : คณะบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

“บริการสาธารณะ”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557, จาก https://www.dailynews.co.th.

“ผู้ให้บริการขนส่ง”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557, จาก https://voicelabour.org.

“พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557, จากhttps://www.thailandlawyercenter.com.

วรวรรณ ต่อวิวัฒน์. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษาข้าราชการกรมศุลกากรที่สังกัดส่วนกลางคลองเตย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกริก.

“รับแจ้งเหตุรถมินิบัส”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557, จาก www.manager.co.th.

รุธิร์ พนมยงค์. (2550). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการวินิจฉัยความสามารถทางด้าน โลจิสติกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจ SME ของไทย. การประชุมเชิงวิชาการประจำปี 2550 การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน(GTT) ครั้งที่ 7, กรุงเทพมหานคร.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (2557). ผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการบริการและการขับขี่ของรถหน่วยกู้ภัยรับเเจ้งมีอุบัติเหตุ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2557, จาก https://pantip.com.

Coyle, J., Bardi, E. & Langley, J. (2003). The management of bBusiness logistics: a supply chain perspective. 7th ed. Canada: South-Western.

Walton, R.E, 1978. “Quality of worklife : What is iIt?.” Sloan Management Review.15 (Fall 1973) : 11-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-30