การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การระบายสีดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • นิตยา เปล่งเจริญศิริชัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

       การวิจัยด้านการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียช่วยสอนเรื่องการระบายสีดิจิทัลมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่อง การระบายสีดิจิทัล และศึกษาผลการใช้สื่อมัลติมีเดียเกี่ยวกับการระบายสีดิจิทัล กลุ่มประชากรได้แก่นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชันจำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อมัลติมีเดีย เรื่องการระบายสีดิจิทัล และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจในการใช้สื่อมัลติมีเดียด้านการนำเสนอสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมาก (μ= 4.24,  σ = 0.57)ด้านภาพเคลื่อนไหวอยู่ในระดับมาก (μ= 4.36,  σ = 0.38) ด้านเสียงอยู่ในระดับมาก (μ= 4.30,   σ= 0.52) ด้านตัวอักษรอยู่ในระดับมาก (μ= 4.48,  σ = 0.42) ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.53,   σ= 0.33) และภาพรวมความพึงพอใจในการใช้สื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมาก (μ= 4.38,  σ = 0.33).

References

ณัฐศักดิ์ ธีระกุล. (2533). “เหตุผลของการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน”. วารสารศึกษาศาสตร์14(8) : 54-57.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

วิภรณ์รัตน์ ผิวเหลือง. (2549). การพัฒนาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียประชาสัมพันธ์บริษัทคาเมล (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุกรี รอดโพธิ์ทอง. (2538). “การออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน”. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง การผลิตและการใช้มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). “มัลติมีเดียหรือสื่อประสม : เทคโนโลยีที่ทรงพลังเพื่อการรับรู้ https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=74626”. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 44(1) : 1-6.

Best, John W. (1997). Research in education. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-31