ตัวแบบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืนของชุมชน
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำให้เกิดความยั่งยืนของชุมชน 2) ศึกษาผลลัพธ์ความยั่งยืนของชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับความยั่งยืนของชุมชน และ 4) แสวงหาตัวแบบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับความยั่งยืนของชุมชน ขอบเขตการวิจัยกำหนดพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคเหนือตอนบน รวม 9 จังหวัดและประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้นำที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารแผนพัฒนาท้องถิ่น จากการศึกษา พบว่า การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการบริหารในระดับสูงมากทั้งหมดทุกด้าน (x̄ = 3.68, S.D.=0.72) ประกอบด้วยการกำหนดนโยบายที่จะเลือกไปปฏิบัติการกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนา ก่อนนำไปบริหารให้เกิดผลลัพธ์ และมีการตรวจสอบและประเมินผล ของการดำเนินงาน และความยั่งยืนของชุมชนพบว่ามีผลการดำเนินงานในระดับสูงมาก (x̄ = 3.56, S.D.=0.69) ทั้งหมดทุกด้านเช่นกัน คือ มีผลการดำเนินงานในระดับสูง ในด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านสังคมด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านเศรษฐกิจและด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านวัฒนธรรม
ผลการทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Canonical พบว่า การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r=0.732) กับผลการดำเนินงานความยั่งยืนของชุมชนได้จริงโดยมีการจัดทำแผนพัฒนาและการบริหารแผนพัฒนาที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานความยั่งยืนของชุมชนในด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยมีภูมิคุ้มกัน และอนุรักษ์ธรรมชาติและมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ตัวแบบที่ค้นพบจากการวิจัยโดยการวิเคราะห์เส้นทางทำให้พบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อความยั่งยืนของชุมชนมีเส้นทางจากการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องผ่านการจัดทำแผนพัฒนาและการบริหารแผนพัฒนา จึงจะนำไปสู่ผลการดำเนินงาน ในด้านภูมิคุ้มกัน และอนุรักษ์ธรรมชาติและด้านมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนด้านวัฒนธรรม ที่จะตรงไป สู่ผลการดำเนินงานความยั่งยืนของชุมชน
References
ไชยรัตน์ ปรานี. (2551). ชุมชนต้นแบบที่นำแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ณัฐนันท์ หลักคำและคณะ. (2554). การจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจโดยอาศัยหลักเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ผลิตสิ่งทอผ้าลายเกล็ดเต่า (กลุ่มเพลงฝ้าย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). ระบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด : ทำอย่างไรให้เป็นจริง. กรุงเทพมหานคร : ส.เจริญการพิมพ์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2552). สรุปการบรรยาย. (23 กรกฎาคม 2552) “การกำกับดูแลองค์การที่ดี” กรุงเทพมหานคร : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
บุญแสง ชีระภากร. (2552). ภาวะผู้นำและการบริหารงานของผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2550, 8 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ก/ตอนที่ 114 : 48-66.
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548. (2548, 29 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนพิเศษ 225 ง : 46-57.
วสันต์ เหลืองประภัทร์. (2550). การกำกับดูแลและการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น, กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สุภาสินี ตันติศรีสุข. (2555). การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช. 6 (2), : 9-12.
Alfsen, Knut H.,and Moe, Thorvald. (2005). “An International Framework for Constructing National Indicators for Policies to Enhance Sustainable Development. Background paper prepared for the UN Expert Group meeting on Indicators of Sustainable Development, 13-15 December 2005.
Arrow, K. J.; Dasgupta, P.; Goulder, L.; Daily, G.; Ehrlich, P. R.; Heal, G. M.; Levin, S.; Maler, K-G. et al. (2004). “Are we consuming too much?”. Journal of Economic Perspectives. 18(3), 147-172.
Bartle, Phil. The Nature of Monitoring and Evaluation : Definition and Purpose. Retrieve Form: https://www.scn.org/cmp/modules/mon-wht.htm,2012, June 13.
Commission of the European Communities. (2001a). A Sustainable Europe for a BetterWorld: A European Union Strategy for Sustainable Development, Brussels.
Department for Environment, Food and Rural Affairs. (2009). Sustainable Development Indicators in Your Pocket. Defra Publications : London.
Dhiwakorn Kaewmanee. (2007). The Evolution of the Thai State: The Political Economy of Formative and Transformative External forces. Berlin : Disteration. de Verlag.
Finn, Donovan. (2009). Our Uncertain Future: Can Good Planning Create Sustainable Communities?; Illinois : University of Illinois.
Hales, J. and Prescott-Alloa, R. (2002). Flying Blind : Assessing Progress toward Sustainability. In Eety, D.C. and Ivanova, H.H. (eds), Global environmental governance options and opportunity. Yale: Yale Center for Environment Land and Policy.
Quigley, Marian. (2008). Encyclopedia of Information Ethics and Security. Victoria: Monash University.
Swedberg,Richard; Agevall, Ola. (2005). The Max Weber Dictionary : Key Words and Central Concepts. Stanford University Press.
Tencati ,Antonio (2006). Economic, Social, Environmental and Sustainability Performance Evaluation and Reporting at the National Level : Frameworks and Indicators. SDA Bocconi School of Management.
The United Nations Conference on Environment and Development. (1992). Earth Summit. Rio de Janeiro, Brazil in June 1992 in the hopes of environmentally responsible international agreements.
United Nations. (2007). Indicators of Sustainable Development : Guidelines and Methodologies. 3rd ed. New York : United Nations.