การพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในบุคคลที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • นวพร วุฒิธรรม มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคคลที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (PRECEDE- PROCEED Framework) (Green &Kreuter, 2005)และเทคนิคการระดมสมอง เอไอซี ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยกลุ่มโรคอ้วนลงพุง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 35คนคัดเลือกแบบเจาะจงและแบบก้อนหิมะ เก็บข้อมูลด้วยการจัดประชาคม การสัมภาษณ์ การสังเกตและการจดบันทึก ด้วยเครื่องมือชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มภาคีเครือข่ายได้ผ่านกระบวนคิดวิเคราะห์ปัญหา การสร้างวิสัยทัศน์ “ชุมชนปลอดโรค” และการตั้งกลุ่ม “คนรักสุขภาพ” ด้วยใจมุ่งมั่น การสร้างแผน การดำเนินตามแผน และการประเมินผลโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพตาม “สุขภาพดีวิถีชุมชนคนลาดโพธิ์” ประกอบด้วย แผนการกินเพื่อสุขภาพ แผนการออกกำลังและแผนการทำใจให้สบาย ทั้งนี้มีบริบทของโปรแกรม ได้แก่ การเรียนรู้เพื่อสุขภาพ กิจวัตรสุขภาพดีวิถีพุทธ เพื่อนสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ ภูมิปัญญาชาวบ้านผสานวัฒนธรรมพื้นบ้านที่โดดเด่น ความอาทรจาก อสม. และพลังผู้นำชุมชน กลุ่มภาคีเครือข่ายได้ร่วมประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโปรแกรมฯ ที่ร่วมกันสร้างขึ้น สรุปได้ว่าทุกกลุ่มย่อยมีความพึงพอใจต่อวิธีการปรับพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทชุมชน ทั้งยังส่งผลให้กลุ่มโรคอ้วนลงพุงมีสภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

          ผู้วิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรตระหนักถึงคุณค่าของพลังภาคีเครือข่ายและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อนำมาใช้ในการป้องกันและแก้ปัญหาโรคอ้วนลงพุงที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน เพื่อนำสู่การพัฒนาสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนอย่างยั่งยืน

References

คนึงเดช เชื่อมวราศาสตร์ พราวพิราษ ควรดำรงธรรม ปุณยนุช พิมใจใส และ จิรเดช มูลรัตน์. (2556). การพัฒนาแผนการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้กระบวนการ AIC สำหรับแผนพัฒนาชุมชนด้านสาธารณสุขของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 19 (1) : 198-210.

ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. (2551). Metabolic syndrome (โรคอ้วนลงพุง). สารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. 23 (1) : 5-17.

นิชาภา โพธาเจริญ. (2556). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการโรคอ้วนในชุมชนอรุณนิเวศน์ กรุงเทพมหานคร. วารสารแพทยสารทหารอากาศ. 58(1) : 39-46.

นงพิมล นิมิตรอานันท์. (2556). สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงของภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 20(3) : 367-381.

นงพิมล นิมิตรอานันท์ นิตยา ถนอมศักดิ์ศรี นฤมล กล่อมจิตเจริญ และบุษราคัม จิตอารีย์. (2556).ความชุกและองค์ประกอบของภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของประชาชนชุมชนคลองโยง จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 19(3) : 468-481.

รังสรรค์ ตั้งตรงจิตร. (2550). โรคอ้วน : การเปลี่ยนแปลงทางด้านโภชนาการ. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วิชัย เอกพลากร. (2553). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. นนทบุรี : เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด.

ศจีมาศ อุณหะจิรังรักษ์ สินีนาฏ ทิพย์มูสิก และ เฉลิมวรรณ ปิ่นแก้ว. (2555). การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรังในชุมชนแบบมีส่วนร่วม ของภาคีด้านสุขภาพ เครือข่ายโรงพยาบาลอินทร์บุรี. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 22(2) : 1-10.

สุวัฒน์ วิริยะพงษ์สุกิจ ประสิทธิชัย มั่งจิตร และสิริชัย นามทรรศนีย์. (2556). ระบบสุขภาพอำเภอ : District Health System ฉบับขับเคลื่อนทั่วประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2557). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านสาธารณสุข. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2557, จาก https://203.157.157.18/provis/ncd/ncdscreen.

อุระณี รัตนพิทักษ์ กีรดาไกรนุวัตร อภิรดีศรี วิจิตรกมล และ จุฑาทิพย์ วิภาวัฒนะ. (2556). ศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมและดัชนีสุขภาพในผู้เป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557, จาก https://www.ns.mahidol.ac.th.

Anderson E. McFarlane J. Helton. (1986). Community-as-client : a model for practice. Nursing Outlook. 34(5) : 220-224.

AlbertiKG, Eckel RH. Grundy SM. et al. (2009). Harmonizing the metabolic syndrome: a joint interim statement of the international diabetes federation task force on epidemiology and prevention; National Heart Association; World Heart Federation; International Atherosclerosis Society; and International Association for the Study of Obesity. Circulation. 120(16) : 1640-45.

Dalleck L.C.Guilder G.P.V. Quinn E.M. & Bredle, D.L. (2013). Primary prevention of metabolic syndrome in the community using an evidence-based exercise program. Prev Med. 57(4) : 392-395.

Green L. W. & KreuterM. (2005). Health Program Planning : An Educational and Ecological Approach, 4thed. New York : McGraw-Hill.

Grundy S. M. Brewer H. B. CleemanJ.I. Smith S.C. & Lenfant C. (2008). Definition of the metabolic syndrome report of the National Heart, Lung, and Blood Institute/American Heart Association for the Study of Obesity. Circulation. (24) : e13-8.

International Diabetes Federation. (2006). The IDF consensus worldwide definition of the metabolic syndrome. Belgium : International Diabetes Federation.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (2000). Participatory action research : Communicative Action in the Public Sphere, in N. Denzin &Y. Lincoln (Eds.). Handbook of qualitative research. Los Angeles : SAGE.

McMurray A. (2007). Community health and wellness a socio-ecological approach. Philadelphia. NY : Mosby.

N. Denzin & Y. Lincoln. (2011). Sage handbook of qualitative research. Los Angeles : SAGE.

National Cholesterol Education Program. (2002). Expert panel on detection, Evaluation and treatment of high blood cholesterol in adults (Adult Treatment Panel III). Final Report National Institutes of Health USA. (2) : 5215.

Ralph, T., Alexandra, M.C. & Patsy, Y. (2012). Using the precede-proceed model of health program planning in breast cancer nursing research. J. of Advanced Nursing. 68 (8) : 1870-1880.

Smith, W. E. (2009). The creative power: Transforming ourselves, our organizations and our world. New York : Rout ledge.

World Health Organization. (2012). World health statistics. [online]. Retrieved April, 20, 2014, from https://www.who.int/gho/publications/world_health_statistics/2012/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-31