ศึกษาและออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเอกชน แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ฐิติกร จันทพลาบูรณ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและออกแบบตัวการ์ตูนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม และเพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการ์ตูนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม โดยผู้วิจัยได้ทำการออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม โดยการประเมินความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านกราฟิก และผู้ทรงคุณวุฒิ ก่อนนำไปสอบถามความพึงพอใจกับกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 30 คน และบุคลากรในมหาวิทยาลัยจำนวน 30 คน โดยคำนวณจากเกณฑ์ (krejcjc และ Morgon บุญชม ศรีสะอาด, 2535 ; นิรัช สุดสังข์ , 2548: 48-49) โดยใช้แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการ์ตูนสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัย นำมาหาค่าโดยกำหนดคะแนนของคำตอบแบบประเมินค่าดังนี้           

          5 หมายถึงมากที่สุด 4 หมายถึงมาก 3 หมายถึงปานกลาง 2 หมายถึงน้อย 1 หมายถึงน้อยที่สุด ผู้วิจัยขอสรุปผลการวิจัยเป็น 2 ข้อ ตามวัตถุประสงค์ดังนี้

          1.การออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านการออกแบบกราฟิก มีดังนี้ ผลการออกแบบการ์ตูนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสมที่อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแล้ว พบว่ามีค่าเฉลี่ย เรียงลำดับดังนี้คือ การ์ตูนมีลักษณะเป็นสากล รองลงมาคือ ตัวการ์ตูนมีรูปแบบที่สามารถจดจำในวัยรุ่นและระลึกถึงได้เป็นอย่างดี และการ์ตูนมีรายละเอียดไม่มากและมีลักษณะโดดเด่น ตัวการ์ตูนมีการใช้สีที่เหมาะสมและไม่มากเกินไป ตัวการ์ตูนมีบุคลิกลักษณะแสดงถึงมหาวิทยาลัย และมีความแรงดึงดูดความสนใจของผู้ชม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ รูปการ์ตูนเหมาะสมกับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้เสนอแนะว่าการ์ตูนสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัย ที่ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบนั้น มีลักษณะ เป็นกลาง ทางด้านรูปร่างหน้าตาส่วนสูง และเครื่องแต่งกาย เหมาะสมเป็นต้นแบบนำไปต่อยอด ใช้กับการ์ตูนสัญลักษณ์ ประจำคณะและสาขาวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยได้ในอนาคต

          2. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการ์ตูนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม พบว่าความพึงพอใจของบุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีต่อการ์ตูนสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (μ= 4.33, σ = 0.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านตัวการ์ตูนมีการใช้สีที่เหมาะสม และไม่มากจนเกินไป (μ= 4.56,  σ= 0.65) และด้านตัวการ์ตูนมี รูปแบบที่สามารถจดจำได้ไว และระลึกถึงได้เป็นอย่างดี (μ= 4.53, σ = 0.68)  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยคือด้านตัวการ์ตูนเหมาะกับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี (μ= 4.48,  σ= 0.73)  ด้านตัวการ์ตูนมีรายละเอียดไม่มาก และมีลักษณะโดดเด่น (μ= 4.32,   σ= 0.71)   ด้านตัวการ์ตูนมีบุคลิกลักษณะ แสดงถึง มหาวิทยาลัย และมีความดึงดูดความสนใจของผู้ชม (μ= 4.30,  σ = 0.39) และด้านตัวการ์ตูนมีลักษณะเป็นสากล (μ= 4.10,  σ = 0.75)

 

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2544). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ณัฏฐิกา เมณฑกา. (2550). ศึกษาแนวทางของการออกแบบสัญลักษณ์เพื่อการปรับภาพลักษณ์องค์กร.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐพงษ์ หอบแย้ม. (2546). การใช้ภาพเชิงสัญลักษณ์สำหรับโฆษณาสถาบันทางสื่อนิตยสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปะกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทองเจือ เขียดทอง. (2542). การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สิปประภา.

ธนสรรค์ พัชรภิญโญพงศ์. (2552). บางกอก อีเว้นท์ฯ ผุดงานแฟร์ซื้อขายคาแรกเตอร์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557, จาก https://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/.html.

เธียรทศ ประพฤติชอบ. (2557). การ์ตูนใครว่าเป็นแค่การ์ตูน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557, จาก https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/79/ContentFile1574.pdf.

นวลน้อย บุญวงษ์. (2539). หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรัช สุดสังข์. (2548). การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ปาพจน์ หนุนภักดี. (2555). Graphic design principles 2nd edition. นนทบุรี : ไอดีซีฯ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2542). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิจิตร อาวะกุล. (2534). เทคนิคการการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส พรินติ้งเฮาส์.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2524). การประชาสัมพันธ์ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาสนา จันทร์สว่าง และคนอื่นๆ. (2541). ภาพลักษณ์ กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สามเจริญพาณิชย์.

วีระชาติ นามศรี. (2549). โครงการพิเศษการออกแบบตัวการ์ตูนเพื่อประชาสัมพันธ์ งานประเพณีผีตาโขนจังหวัดเลย. ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

วิศิลป์ แซ่เตีย. (2545). การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับอุทยานแห่งชาติในประเทศไทยกรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพงศ์ พยอมแย้ม. (2537). เทคนิคงานกราฟิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

สืบศิริ แซ่ลี้. (2546). การออกแบบสัญลักษณ์ตัวแทนประจำจังหวัดภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสรี วงษ์มณฑา. (2531). สัญลักษณ์หมายถึง. กรุงเทพมหานคร : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.

อธิวัฒน์ จุลมัจฉา. (2550). การออกแบบสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

เอม อึ้งจิตรไพศาล. (2552). การพัฒนากระบวนการออกแบบลักษณะตัวการ์ตูนไทยสำหรับสื่อแอนิเมชัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Best John, W. (1970). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-31