ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชน ในการรับบริการจากเทศบาลเมืองไร่ขิง

ผู้แต่ง

  • อุบล วุฒิพรโสภณ มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนาบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

         องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับวันจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นมีบทบาทหน้าที่ ทั้งในเรื่องการบริหารการจัดงบประมาณ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และการให้บริการแก่ประชาชนที่พักอาศัยในเขตที่รับผิดชอบ รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยเฉพาะที่เทศบาลเมืองไร่ขิงมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญระดับประเทศตั้งอยู่คือ วัดไร่ขิงพระอารามหลวง การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการรับบริการของเทศบาลเมืองไร่ขิงทั้ง 1) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ  2) อาคารสถานที่ที่ให้บริการ  3) กระบวนการดำเนินงาน 4) การบริการกำจัดขยะ 5) การบริการน้ำประปา  และ 6) การรับเรื่องร้องเรียน และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ ได้แก่ เขตที่พักอาศัย เพศ อายุ การศึกษา อาชีพหลัก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาที่พักอาศัยใยชุมชนรวมทั้ง เพื่อทราบปัญหาอุปสรรค และความต้องการของประชาชน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งพัฒนาขึ้นจากแนวคิดและทฤษฏี  และจากการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่พักอาศัยในตำบลไร่ขิงจำนวน 354 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบสัดส่วน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Eta และ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนผู้รับบริการมีความพึงพอใจในแต่ละด้านดังนี้ 1) ด้านอาคารสถานที่ที่ให้บริการระดับมาก (x̄ = 3.50, S.D.= 0.71) 2) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการระดับมาก (x̄ = 3.45, S.D.= 0.73) 3) ด้านการบริการน้ำประปาระดับปานกลาง (x̄ = 3.32, S.D.= 0.81) 4) ด้านกระบวนการดำเนินงานระดับปานกลาง (x̄ = 3.27, S.D.= 0.79) 5) ด้านการบริการกำจัดขยะระดับปานกลาง (x̄ = 3.20, S.D.= 0.83) 6) ด้านการรับเรื่องร้องเรียนระดับปานกลาง (x̄ = 3.16, S.D.= 0.90) และปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อการรับบริการประกอบด้วย เขตที่พักอาศัย และระยะเวลาพักอาศัยในชุมชน

References

กรรณิการ์ ชูขันธ์. (2554). การศึกษาระบบการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรองจิต ใจเสมอ. (2551). ความพึงพอใจการใช้บริการเคหะแจ้งวัฒนะอาคาร E. วิทยานิพนธ์หลัสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

คณะเทคโนโลยี่สังคม. (2551). การประเมินผลความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.

ชัชวาลย์ เวศย์วรุตม์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจคเลือกพักอาศัยของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประกอบการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดวงภรณ์ ตรีธัญญา. (2547). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

เนตร หงษ์ไกรเลิศ. (2550). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช).

ประสาน กำจรเมนุกูล. (2542). ความคิดเห็นของประชาชนต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเทศบาลเมืองกาฬสินทธ์. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคม, สถาบัณพัฒนบริหารศาสตร์.

มานิตย์ บุตรนํ้าเพ็ชร. (2547). ความพึงพอใจของผู้ใช้น้ำประปา กรณีศึกษา โครงการประปาผิวดินบ้านเกาะไร่ อําเภอบ้านโพธิ์จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การประเมินกลไก กระบวนการและสัมฤทธิผล ของการแก้ไขปัญหาที่ประชาชนร้องเรียน. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์.สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-31