การประเมินผลสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ในแผนกศัลยกรรมกระดูก ในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เสาวรส สุดสว่าง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาสมรรถนะและเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในแผนกศัลยกรรมกระดูกในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครจากการประเมินตนเอง ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ประชากรที่ศึกษาเป็น พยาบาลวิชาชีพในแผนกศัลยกรรมกระดูก ซึ่งประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพระดับบริหารชำนาญการ ปฏิบัติการ และผู้ใต้บังคับบัญชา เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556 เครื่องมือวิจัย เป็น แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.81 และหาความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาได้เท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในแผนกศัลยกรรมกระดูกในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครจากการประเมินตนเอง ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา อยู่ในระดับปานกลาง ผลการประเมินสมรรถนะด้วยตนเองของพยาบาลวิชาชีพมีความแตกต่างจากผลการประเมินโดยผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา

          ดังนั้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าการประเมินสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพควรใช้การประเมินแบบ 360 องศา

References

กุลวดี อภิชาตบุตร และสมใจ ศิระกมล. (2547). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ. รายงานการวิจัยภาควิชาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

ฉัตรเลิศ พงษ์ไชยกุล. (2552). โรคกระดูกพรุน (Osteopolosis) ..โรคร้ายที่ไม่ควรมองข้าม.สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557. จาก : www.prema.or.th/patian.php.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก Competency กันเถอะ. กรุงเทพมหานคร : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

ดวงจันทร์ ทิพย์ปรีชา. (2548). ศักยภาพความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคลทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: พี. เอ. ลิฟวิ่ง.

ปิยธิดา อยู่สุข. (2548). การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตติยภูมิ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงพะงา อักษรเมศ. (2554). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตำรวจ.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้ำฝน โดมกลาง. (2550). บทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ที่พึงประสงค์ในศตวรรษหน้า พ.ศ.2551-2560. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.

พัชรินทร์ ชนะพาร์. (2554). โรคกระดูกพรุนในผู้ชายร้ายกว่าที่คิด. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41 (3) : 283-294.

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2549). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ : หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พรีวัน.

สภาการพยาบาล. (2552). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540. นนทบุรี : ผู้แต่ง.

สาธารณสุข, กระทรวง. กรมการแพทย์. สำนักการพยาบาล. (2548). หน้าที่ความรับผิดชอบหลักและสมรรถนะหลักพยาบาลวิชาชีพ. นนทบุรี : กลุ่มภารกิจพัฒนานโยบาลและยุทธศาสตร์ทางการการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (อัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.(2552). มาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ ความสามารถทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็น สำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพมหานคร : พี เอ พับลิสชิ่ง.

อัจฉรา สุขมาก. (2549). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรฐินี รูปงาม. (2548). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพประจำห้องคลอด โรงพยาบาลทั่วไป.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาการบริหารการพยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Canadian Orthopedic Nurses Association(CONA). (2005). Orthopedic nursing standard. retrieved July 18,2005 from: https:/www.cona-nurse.org/standards.html.

Hay Group Headquarters. (2013). Using Competencies to identify high performances : An overview of the Based, from www. Haygroup.Com/../ck/Competencies and-high-performance.pdf.

Mason, S., Fletcher, A., McCormick, S., Perrin, J., & Rigby, A. (2005). Developing assessment of emergency nurse practitioner competence : A pilot study. Journal Advanced Nursing, 50:425 - 432.

Mc Clelland, D.C. (1993). The achievement society. New York : The Free Press.

Santy,J. (2001). An investigate of the reality of nursing work with orthopedic. Journal of Orthopedic Nursing. 5 : 22-29.

Santy,J .(2005). A competency framework for orthopedic and trauma nursing. Journal of Orthopedic Nursing, 9: 81-86.

Sullivan , E.J. & Decker,P.J. (2005). Effective leadership and management in nursing. 6thed. New Jersey : Pearson Prentice Hall.

Spencer ,M.,& Spencer,M.S. 1993. Competence at work : Models for superiors performance. New Jork : John Wiley & Sons.

The American Nurses Association. (2003). National Association of Orthopedic Nurses. Retrieved June 2, 2013, from : www. Nursing center.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-31