ความสำคัญของเรื่องการเดินทางไปเอมมาอูสในพระกิตติคุณลูกา

ผู้แต่ง

  • วิริยะ ทิพยวรการกูร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

         บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์เรื่องราวของเรื่องของ “การเดินทางไปเอมมาอูส” ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในพระธรรมลูกา 24:13-35 (ซึ่งเป็นเรื่องราวที่อยู่ในบทสุดท้ายของพระกิตติคุณลูกา) การวิเคราะห์นี้ได้นำเสนอข้อสรุปว่าผู้เขียน พระกิตติคุณลูกาได้บันทึกเรื่อง “การเดินทางไปเอมมาอูส” อย่างมีจุดประสงค์ เพื่อที่จะให้ผู้อ่านได้กลับมาระลึกถึงความเข้าใจในเรื่องสำคัญที่พระกิตติคุณลูกาทั้งเล่มได้นำเสนอ การวิเคราะห์นี้ได้นำเสนอข้อสรุปประเด็นสำคัญที่เรื่อง “การเดินทางไปเอมมาอูส” ได้นำเสนอ ประเด็นแรกเรื่อง “การเดินทางไปเอมมาอูส” ได้นำให้ผู้อ่านระลึกถึงความเข้าใจผิดของเหล่าสาวกของพระเยซูคริสต์ที่มีต่อเรื่องของพระมาสิยาห์ ในเรื่องนี้สาวกสองคนที่ได้สนทนากับพระเยซูได้เป็นเสมือนตัวแทนของสาวกทั้งหมดของพระเยซูเข้าใจว่า พระเยซูทรงเป็นผู้เผยพระวจนะที่ทรงเปี่ยมด้วยฤทธิอำนาจจะมาปลดแอกชนชาติอิสราเอล ออกจากการเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรโรมัน ประเด็นที่สอง เรื่อง “การเดินทางไปเอมมาอูส” เปิดเผยว่าการสิ้นพระชนม์และการเป็นขึ้นความตายของพระเยซูคริสต์ ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นเรื่องที่ได้มีการทำนายไว้ล่วงหน้าแล้วในพระคัมภีร์เดิม ประเด็นที่สาม เรื่อง “การเดินทางไปเอมมาอูส” ได้นำให้ผู้อ่านระลึกถึงคำสอนเรื่องการต้อนรับคนแปลกหน้าด้วยใจกว้างขวาง ซึ่งเป็นหนึ่งคำสอนหลักของพระเยซูคริสต์ที่ปรากฏอยู่ในพระกิตติคุณลูกา

References

Betz, Hans Dieter. (1969). “Origin and nature of christian faith according to the emmaus legend.” Interpretation. (23) : 32-46.

Bovon, Francois. (2002). Luke 1: A commentary on the gospel of luke 1:1-9:50. Translated be Christine M. Thomas. Edited by Helmut Koester. Hermeneia 42. Minneapolis : Fortress.

Dillon, Richard J. (1978). From eye-witnesses to ministers of the word : Tradition and composition in luke 24. Rome : Biblical Institute Press.

Fitzmyer. Joseph A. (1981-1985). The gospel according to luke. 2 vols. anchor bible 28-28A. New York : Doubleday.

Green, Joel B. (1997). The gospel of luke. The new international commentary on the new testament. Grand rapids : Eerdmans.

Karris, Robert J. (1987). “Luke 24:13-35.” Interpretation. (41) : 57-61.

MacDonald, Dennis Ronald. (2000). “The ending of Luke and the ending of the Odyssey” in For a later generation : the transformation of tradition in Israel, early Judaism, and early Christianity Edited by Randal A. Argall, Beverly A. Bow, and Rodney A. Werline. Harrisburg, Pa. : Trinity Press International.

Maxey, James. (2005). “The road to Emmaus : changing expectations : a narrative-critical study.” Currents in Theology and Mission. (32) : 112-123.

Metzger, Bruce M. (1975). A Textual commentary on the greek new testament. Stuttgart : United Bible Societies.

Nolland, John. (1993). Luke 18:35-24:53. vol 3 of Luke. Word biblical commentary 35C; Dallas: Word Books.

Resseguie, James L. (2004). Spiritual landscape : Images of the spiritual luke in the gospel of luke. Massachusetts : Hendrickson.

Rosica, Thomas M. (1994). “The road to emmaus and the road to gaza : Luke 24:13-35 and Acts 8:26-40.” Worship. (68) : 117-131.

Schubert, Paul. (1954). “The structure and significance of luke 24” in neutestamentliche studien for rudolf bultmann zu seinem 70. Edited by Walther Elterter. Berlin : A. Topelmann.

Tannehill, Robert C. (1991). The narrative unity of luke-Acts : A literary interpretation vol 1. Philadelphia : fortress.

Wallace. Daniel B. (2000). The basic of new testament syntax. Grand Rapid : Zondervan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-31