ผลกระทบด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ จากการพัฒนาการท่องเที่ยว ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันตก เพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

ผู้แต่ง

  • สยาม อรุณศรีมรกต มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยอนาคต (Futurism) โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technigue)  การจัดเวทีสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการจัดการท่องเที่ยวและผลกระทบ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จากการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดในภูมิภาคตะวันตก จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ข้าราชการในสังกัดกรมการปกครอง นักธุรกิจ และนักวิชาการ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ 4 จังหวัด ภาคตะวันตก  มีผลกระทบต่อสังคม  วัฒนธรรม  และเศรษฐกิจ ดังนี้

          ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ พบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยว ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนใน 4 จังหวัดภาคตะวันตกดีขึ้น  เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชุมชน เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายทางชาติพันธุ์

          ส่วนผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์ พบว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวก่อให้เกิดมลพิษ ป่าไม้ถูกทำลาย และมีขยะปริมาณมากมีผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน อาจก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม และการค้ามนุษย์  เพิ่มปริมาณของแรงงานต่างด้าวอาจทำให้เกิดปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรม  และประชากรแฝงจากแรงงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย

          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่พึงประสงค์  พบว่า คนในชุมชนได้ประกอบอาชีพมากขึ้น มีการลงทุนด้านการท่องเที่ยว ที่พัก การขนส่ง และ อาหารทะเล มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีกับกลุ่มจังหวัดภาคตะวันตก เกิดการพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินค้า เกิดการพัฒนาทางกายภาพเพื่อรองรับการเติบโตทางธุรกิจ 

          ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ไม่พึงประสงค์พบว่า  ทำให้ค่าครองชีพในชุมชนสูงขึ้น กลุ่มทุนจะตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมากเกินไป ทรัพยากรป่าไม้อาจถูกทำลายมากขึ้นและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาอุตสาหกรรม  และการพัฒนาทางกายภาพ มีผลกระทบต่อการเวนคืนที่ดิน และการสูญเสียพื้นที่ภาคเกษตรกรรม   

          ส่วนมาตรการควบคุมป้องกันปัญหาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว ควรมีการเตรียมการทั้งระดับรัฐและระดับชุมชน โดยจัดทำแผนพัฒนาที่ชัดเจน และดำเนินการพัฒนาโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม มีการประสานงานเกี่ยวกับการค้าชายแดนให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศไทย ควบคุมการทำลายสิ่งแวดล้อม และให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนให้รู้เท่าทันกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชนให้มีความรักในท้องถิ่น

          ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานราชการและองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคตะวันตก ควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และการป้องกันปัญหาด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาการท่องเที่ยว

References

กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ คอลัมน์ อสังหาฯ REAL ESTATE. (2556). สกัดทุนทิ้ง'บ้านพุน้ำร้อน'คุมเข้มผังชุมชนชายแดนห้ามพัฒนาเชิงพาณิชย์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=167095:2013-02-05-07-03-21&catid=128:-real-estate-&Itemid=478.

เกษม จันทร์แก้ว. (2554). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นสูง (Advanced Environmental Impact Assessment). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เฉลียว ฤกษ์รุจิพิมล. (2542). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉลอง ขุนมนตรี. (2551). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมในการก่อสร้างกระเช้าเชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน กรณีศึกษาบ้านสบแพม บ้านตีนธาตุ และบ้านแพนกลาง ตำบลทุ่งยาง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณรงค์ เส็งประชา. (2544). วิถีไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ณัฐวุฒิ ปงเมฆ. (2547). ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นของไทย กรณีศึกษาเปรียบเทียบจังหวัดเชียงรายกับจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทวาย. (2556). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://daweidevelopment.com/index.php/us/thai-news/140-2012-03-02-04-46-13.

ธงชัย ประเทือง. (2555). ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากการสร้างปางช้างเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัสสรกรณ์ ลังกาฟ้า. (2553). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ยศ สันตสมบัติ. (2547). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร โครงการพัฒนาความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย. โครงการ BRT ชั้น 5 อาคารสำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ.

วีรพล มณีพงษ์. (2531). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษากรณีบ้านกุดรัง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.

ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2555). เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นการกำหนดขอบเขตและแนวทาง การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) โครงการท่าเทียบเรือบริเวณโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2556, จาก https://www.kbcku.ac.th/data/news/%. Final.pdf.

สุริชัย หวันแก้ว. (2537). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดกาญจนบุรี. (2555). โครงการวางผังชุมชนชายแดนบ้านพุน้ำร้อน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.dpt.go.th/kanchanaburi/main/index.php?option=com_content&view=article&id=21&Itemid=15.

สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ป.). (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง กลุ่มที่ 1 (4 จังหวัด). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.bb.go.th/bb/information/activity/ Xbit/chg_strg /chgstrg_menu.htm.

สำนักผังประเทศผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง. (ม.ป.ป.). (2556). โครงการวางและจัดทำผังอนุภาคกลุ่มจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.subregional-planning.mouchel.co.th/.

สำนักผังประเทศผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2556). แนวคิดการพัฒนาตามแนวรัศมีเมืองศูนย์กลางหลัก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.subregional-planning.mouchel.co.th/html/framework.html.

อธิฏฐาน พงศ์พิศาล. (2549). ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้โครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ กรณีศึกษา บ้านไทย-จังโหลน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. (2555). การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

"บ้านพุน้ำร้อน”. (2556). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2556, จากhttps://banphunamron-dawei.blogspot.com/2012/06/blog-post_03.html.

Arkhom Termpittayapaisith. (2012). Thailand's Labor, Infrastructure Capacity and Dawei Development Project. [Online]. Retrived July 17,2014, from https://www.boi.go.th/upload/content/Thailand's LaborInfrastructureCapacityandDaweiDevelopmentProject.pdf.

Becker,H.A. (1997). Social Impact assessment : method and the Developing World. London : UCL Press Limited.

Italian-Thai Development Public Co.Ltd. (2013). Dawei Development Company Limited. [Online]. Retrived July 17, 2014, from https:// daweidevelopment.com/index.php/en.

Kittiratt Na Ranong, H.E. (2013). The Roadmap to Real Opportunities for Thailand and ASEAN. [Online]. Retrived July 17,2014, from https://www.mof.go.th/home/Pr/fpo_roadmap.pdf

Kosum Saichan,Assoc.Prof.Dr., Atchareeya Saisin. (2014). Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project. [Online]. Retrived July 17,2014, from https://rcsd.soc.cmu.ac.th/InterConf/paper/paper23.pdf.

Mahesuan Kruewan. (2014). Thailand Development Policy for Neighboring Countries : Dawei Development Project Case Study. [Online]. Retrived July 17,2014, from https://www.mof.go.jp/pri/international_exchange/visiting_scholar_program/ws2014_a.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-30