ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมติดอินเทอร์เน็ต

ผู้แต่ง

  • พิมพา ชีวาประกอบกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมติดอินเทอร์เน็ต 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา หลักสูตรโปรแกรมไทยของมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิกจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) ในกรณีที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe' Method)

          ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาโดยรวมมีพฤติกรรมการติดสื่ออินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับปานกลาง โดยเพศชายและเพศหญิงมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างกันแต่เพศชายจะมีพฤติกรรมการควบคุมตนเองและมีปัญหาความสัมพันธ์ทางด้านสังคมทั้งในครอบครัวและบุคคลอื่นที่สูงกว่าเพศหญิง ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์มีความสัมพันธ์กับการควบคุมตนเอง เกรดเฉลี่ยสะสมและที่พักอาศัยสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ทางสังคมและครอบครัว

References

ธนิกานต์ มาฆะศิรานนท์. (2545). พฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสพติดอินเทอร์เน็ต ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รามาธิบดี. (2556). โรคติดอินเตอร์เน็ตและแนวทางแก้ไข. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557, จาก https://mr-rama.blogspot.com/2013/08/blog-post_23.html.

ลักษณา พลอยเลื่อมแสง. (2545). “ผลกระทบของอินเทอร์เน็ตต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารสวนปรุง. 18(2) : 34-46.

อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. (2554). “การเสพติดอินเทอร์เน็ตของชุมชนชาวออนไลน์”. Executive Journal. 41-42.

Christian Community Network. (2014). Internet addiction disorder. [Online].Retrieved April 2, 2014, from https://www.gracezone.org/index.php/technology/601-internet-addiction-disorder.

Internet World Stats. (2012). Internet users in the world. [Online]. Retrieved April 2, 2014, from https://www.internetworldstats.com/stats.htm.

Lin, Chien-Hsin; Lin, Shong-Lin; and Wu, Chin-Pi. (2009). “The effects of parental monitoring and leisure boredom on adolescents' internet addiction”. Adolescence. 44(176) : 993-1004.

Young, K. (1996). “Internet addiction : The emergenceof a new clinical disorder”. Cyberpsychology&Behavior. 1(3) : 237-244.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-30