ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • รัฎภัทร์ บุญมาทอง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาคร เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2557 ถึงเดือนมกราคม 2558 จากกลุ่มตัวอย่าง 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) สร้างความตระหนักในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม 2) ให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม 3) เสริมสร้างความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม และ 4) สร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้บุคคลได้พัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม ส่วนกลุ่มควบคุม 30 ราย ได้รับการดูแลตามปกติจากพยาบาล ในชมรมผู้สูงอายุ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ แบบประเมินจำนวนครั้งในการหกล้ม และ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติที และสถิติไคสแควร์

          ผลการวิจัย พบว่าภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองและจำนวนครั้งของการหกล้มน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05 นอกจากนั้นยังพบว่าภายหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม  และจำนวนครั้งของการหกล้มน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

          การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมดังกล่าวช่วยป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุและส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้มได้ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความตระหนักและเข้าใจในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการหกล้ม และนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลและดูแลผู้สูงอายุเพื่อการป้องกันการหกล้มต่อไป

References

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). “การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย พ.ศ.2556”. บทความวิชาการ. 3 (16) : 1-19.

ประเสริฐ ประสมรักษ์. (2556). ภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ เอกสารบรรยาย สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (บรรณาธิการ). (2556). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับบิชชิ่ง. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรศิริ พฤกษะศรี วิภาวี คงอินทร์ และ ปิยะนุช จิตตนูนท์. (2551). “ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการลีลาศต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม”. สงขลานครินทร์เวชสาร. 26(4) : 323-337.

เพ็ญศรี เลาสวัสดิ์ชัยกุล ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม และพรรณวดี พุธวัฒนะ. (2543). “ปัจจัยเกี่ยวข้องและผลจากการหกล้มในผู้สูงอายุ”. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 1(2) : 16-20.

ภาวดี วิมลพันธ์ และขนิษฐา พิศฉลาด. (2556). “ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดหกล้มต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ”. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 23(3) : 98-109.

ลัดดา เถียมวงศ์. (2547). “แนวทางการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน”.วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 5(2) : 42-47.

วิชัย เอกพลากร. (2553). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. นนทบุรี : สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. (2556). รายงานการศึกษา โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลาวรรณ สมตน ทัศนีย์ ระวิวรกุล และ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2556). “ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ”. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 27(3) : 58-70.

ศินาท แขนอก. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่มารับบริการคลินิกผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2543). การพยาบาล : ศาสตร์ของการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2544). หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Graham, B.C. (2012). “Examining Evidence-Based Interventions to Prevent Inpatient Falls”. Medsurg Nursing. 21 (5) : 267-270.

Chi, I. (2008). “Falls and subsequent health service utilization in community-dwelling Chinese older adults”. Archives of gerontology & geriatrics. (46) : 125-135.

Kamonrat Kittipimpanon, Kwanjai Amnatsatsue, Patchaporn Kerdmongkol, Suchinda Jarupat Maruo and Dechavudh Nityasuddhi. (2012). “Development and Evaluation of a Community-Based Fall Prevention Program for Elder Thais”. Pacific Rim Int J Nurs Res. (2012). 16(3) : 222-235.

Orem, D.E., Taylor, S. G. & Renpenning, K.M. (2001). Nursing : Concepts of Practice. (6thed.). St. Louis : Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-30