ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร คุณโณ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพ เป็นหนึ่งในห้าของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลมากที่สุดและมีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคและอัตราการเสียชีวิตที่สูงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยต้องมีการปรับตัวและยอมรับการเจ็บป่วยเพื่อก้าวผ่านการเจ็บป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง

          มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจต่อความรู้การดูแลสุขภาพและพฤติกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจผู้วิจัยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ในผู้ป่วยทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลราชบุรี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจำนวนกลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความรู้การดูแลสุขภาพมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.705 และแบบสอบถามพฤติกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.831 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test                   

          ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจด้วยการเปลี่ยนผ่านมีความรู้การดูแลสุขภาพและพฤติกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจที่ดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถพัฒนาต่อเป็นแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจสำหรับพยาบาลโดยใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และผู้วิจัยขอเสนอให้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ของผู้ป่วยภายหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล

References

กนกพร นทีธนสมบัติ. (2555). “ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน:กรณีศึกษาสตรีตั้งครรภ์ปกติ”.วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ. 16(31) : 103-116.

ขวัญเนตร เกษชุมพล. (2552). การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ โรงพยาบาลศีรษะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปนัดดา มณีทิพย์. (2550). ผลของการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและการได้รับการพยาบาล ตามความสามารถในการดูแลตนเองต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามหัวใจตายเฉียบพลัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ประวิชช์ ตันประเสริฐ. (2553). แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคหัวใจ. สมาคมแพทย์โรคหัวใจ แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2555). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. (พิมพ์ครั้งที่9). ขอนแก่น. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

รพีพรรณ น้อยปิ่น. (2551). การประเมินผลการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรงพยาบาลลำปาง. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ลักขณา เรืองรักษา. (2550). ผลการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสรรถภาพหัวใจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ศศิวรรณทัศนเอี่ยม. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2554). แผนยุทธ์ศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2554-2563. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Chatziefstration, Anastasia. (2013). “Cardiac rehabilitation outcome : modifiable risk factors”. British journal of nursing. 22(4.) : 200-207.

Janssen, Veronica. (2012). “Changes in Illness Perceptions and Quality of Life During Participation in Cardiac Rehabilitation”. International Society of Behavioral Medicine. 2013. (20) : 582-589.

Meleis,A. I., PhD,FAAN. (2012). Theoretical Nursing Development & Progress. 5th ed. Philadelphia : Lippincolt Williams& Wilkins”

Milligan, Fiona. (2012). Cardiac Rehabilitation : an effective secondary prevention intervention. British journal of nursing. 21. (13.) : 782-785.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-30