โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลขององค์การ ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และความผูกพันต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบสมมติฐานกับข้อมูล เชิงประจักษ์ในด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ ความผูกพัน ต่อองค์การ และประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 326 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (Structural equation  modeling : SEM) เป็นสถิติประเภทตัวแปรพหุ (Multivariate statistics) ที่บูรณาการเทคนิคการวิเคราะห์ด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis)

          ข้อค้นพบจากการวิจัย แสดงว่า

          1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ ความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิผล ขององค์การของมหาวิทยาลัยเอกชนมีความสัมพันธ์กัน

          2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลขององค์การของมหาวิทยาลัย (β= 0. 21, p <.05), ความผูกพันต่อองค์การ (β= -0.35, p <.05), วัฒนธรรมองค์การ (β= 0.81 p < . 05), วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลโดยตรงต่อความผูกพันต่อองค์การ (β= 0.67, p < .05), ประสิทธิผลของมหาวิทยาลัย (β= 0.58, p < .05), ความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัย (β= 0.29, p < .05), ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยฯ  มี 2 ลักษณะ ลักษณะแรกผ่านวัฒนธรรมองค์การ (β= 0.43 , p < .05) ลักษณะที่ 2 ผ่านวัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อองค์การ (β=  0.28  , p < .05) โดยรูปแบบดังกล่าวสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผล ได้ร้อยละ 65

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : เทพนิมิตการพิมพ์.

ชีวิน อ่อนลออ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชยาธิศ กัญหา. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนยุทธ บุตรขวัญ. (2554). ปัจจัยทีมีผลต่อความผูกพันในองค์กรของเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระ มหากษัตริย์. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและ ภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปกร.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2543). ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ประยุทธ ชูสอน. (2548). พฤติกรรมภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มานิต บุญประเสริฐ. (2549). การพัฒนาภาวะผู้นำอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Arroba, T& James Kim (1992). Pressure at Work : A Survivals Guide for Manger.2 d ed London : McGraw-Hill.

Avolio, Bruce J. and Bass, Bernard M. (1988). “Transformational leadership, charisma, and beyond” In Emerging leadership Vistas. James Greaid Hunt, B.Rajaran, Bailiga, H. Petter Dacheler and Chester A. 29-50 : Lexingtion Books.

Bandura, Albert. (1977). “Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change,” in Psychological Review, 84(3) : 191-215

Bower, M. (1966). The Will to Manage. New York: McGraw-Hill.

Collins, J. C. (2001). Good to Great : Why some Companies Make the Leap and Others. New York : Random House Publisher Business Book.

Daft, R.L. (1992), Organization : Cases and Design. Singapore : West Publishing Company.

----- .(2008). The Leadership Experience. 4th ed .Mason, O.H. : Thomson/South-Western.

Joyce, W., Noria, N., & Roberson, B. (2003). What really works : The 4 + 2 formula for Sustained Business Success. New York : Harper Collins.

Kimberly,J.R.1979. Issues in the Creation of Organizations : Initiation, Innovation, and Institutionalization. Academy of Management Journal, 22 (3) : 437-457.

Livingston, J. S. 1971. Myth of the well-educated manager. Harvard Business Review, January-February : 79-96.

Li Y. C. (2004). Examining the Effect of Organizational Culture and Leadership Behaviors on Organization Commitment, Job Satisfaction and Job Performance at Small & Middle-Sized Forms of Taiwan. Journal of American Academy of Business, 5/2 : 432-438

Mowday, R. Steer, R.M. and L.Porter. (1982). Employee Organization Linkage : The Psychology of Commitment, Absent and Turnover. NewYour : Acadedmy Press.

Newman, R. and Wehlage, G. (1995). Successful School Restructuring : A Report to the Public and Educators by the Center for Restructuring School. Madison, Wisconsin : University of Wisconsin.

Northouse, P. G. (2001). Leadership : Theory and Practice. 2nd Ed. Thousand Oaks, CA: SAGE Publication.

Robbins, S P. (1990). Organization Theory : Structure, Design, and Applications. 3rd ed. Englewood Cliffs, N.J : Prentice Hall.

Yukul, & Fleet. (1992). Theory and Research on Leadership in organizations. Psychology Handbook or Industrial and organization. 2nd ed. Palo Alto : Consulting Psycho logistic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-30