การพัฒนาสื่อแอนิเมชันเรื่อง “หนูเกิดมาได้อย่างไร”
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อแอนิเมชันเรื่องหนูเกิดมาได้อย่างไร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมที่ใช้พัฒนาสื่อแอนิเมชันและศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อแอนิเมชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อมัลติมีเดียเรื่องหนูเกิดมาได้อย่างไร โดยใช้แบบสอบถามที่ใช้มาตรวัด 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในด้านการนำเสนอสื่อมัลติมีเดียในระดับมาก (x̄ = 4.14, S.D. = 0.12) ด้านภาพ เคลื่อนไหวในระดับมาก (x̄= 4.31, S.D. = 0.23) ด้านเสียงในระดับมาก (x̄ = 4.35, S.D. = 0.64) ด้านตัวอักษรในระดับมาก (x̄ = 4.44, S.D. = 0.22) ด้านเนื้อหาในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.54, S.D. = 0.23) และในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อมัลติมีเดียในระดับมาก (x̄ = 4.29, S.D. = 0.27) สื่อมัลติมีเดียนี้ทำให้นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้เรียนรู้ความสำคัญของเพศทั้งสองเพศที่ทำหน้าที่สืบพันธ์ หรือให้กำเนิดชีวิต ซึ่งเป็นคำตอบที่ทำให้ทราบว่าคนเราเกิดมาได้อย่างไร
References
ดวงจันทร์ ปู่เพี้ยน. (2554). ความรู้เบื้องต้นสื่อมัลติมีเดีย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2557, จาก https://sites.google.com/site/nongpatpoo/hnwy-thi-1.
นงพงา ลิ้มสุวรรณ. เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2557, จาก https://www.formumandme.com/article.php?a=363.
นิตยา เปล่งเจริญศิริชัย. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องการระบายสีดิจิทัล. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
บุบผา เรืองรอง. (2557) สอนลูกเรื่องเพศ (Gender). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2557, จาก https://taamkru.com/th.
วิภรณ์รัตน์ ผิวเหลือง. (2549). การพัฒนาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียประชาสัมพันธ์บริษัทคาเมล (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). “มัลติมีเดียหรือสื่อประสม : เทคโนโลยีที่ทรงพลังเพื่อการรับรู้” จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 44(1) : 1-6.
สมฤดี วังจินดา. (2540). ผลของการเล่านิทานประกอบหุ่นมือต่อการรับรู้ความเจ็บปวด พฤติกรรม ความเจ็บปวดจากการฉีดยาและทัศนคติตอการฉีดยาในเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3-6 ปี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกจิตวิทยาพัฒนาการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Best, John W. (1997). Research in education. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.